แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
ในสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อปี พ.ศ.2484-2488 กองทัพญี่ปุ่นที่เรืองอำนาจได้เข้ามายึดครองประเทศไทย และดินแดนส่วนใหญ่ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ รัฐบาลไทยสมัยนั้นจำต้องให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นในการลงนามกติกาสัญญาเป็นพันธมิตร แต่คนไทยกลุ่มหนึ่งทั้งในและต่างประเทศ ได้รวมพลังก่อเกิด "เสรีไทย" ขึ้นโดยเชื่อมั่นว่า การรบในระยะยาว กำลังของฝ่ายพันธมิตรจะเติบโตและสามารถเอาชนะสงครามได้
จังหวัดแพร่ได้เป็นส่วนสำคัญของสงครามมหาเอเชียบูรพาและเกี่ยวข้องกับขบวนการเสรีไทย เพราะเป็นจังหวัดเดียวใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ที่มีขบวนการเสรีไทย โดยมีเสรีไทยแกนนำร่วมกับชาวบ้านในสมัยนั้น ใช้หมู่บ้านหนองม่วงไข่ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติการกู้ชาติ นับเป็นเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ที่ชาวจังหวัดแพร่ได้มีส่วนร่วมให้ประเทศรอดพ้นวิกฤตการณ์
นายภุชงค์ กันทาธรรม อดีตเสรีไทยจังหวัดแพร่ ได้ร่วมกับทายาทเสรีไทยจังหวัดแพร่ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์เสรีไทยขึ้น ณ บ้านทอง กุศล อยู่ในบริเวณโรงแรมภราดร โดยรวบรวมประวัติศาสตร์ คุณงามความดี ความเสียสละ ความสามัคคีของผู้กล้าเสรีไทยสายเหนือในจังหวัดแพร่ รวมทั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์และแหล่งศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจ
พิพิธภัณฑ์เสรีไทยแพร่ มีลักษณะเป็นบ้านเรือนไทย 2 ชั้น ภายในพิพิธภัณฑ์จะประกอบด้วย 4 ห้องดังนี้
ห้องที่ 1
- จุดเริ่มต้นของเสรีไทยสายกลาง
- เรื่องราวและประวัติของแกนนำเสรีไทยคนสำคัญ
- ห้องทำงานของนายทอง กันทาธรรม หัวหน้าขบวนการเสรีไทยแพร่
ห้องที่ 2
- เรื่องราวของกำลังพลเสรีไทยแพร่
- ประวัติของแกนนำเสรีไทย
- ห้องนายทหารอเมริกัน
ห้องที่ 3
- เรื่องราวการรวมตัวของเสรีไทยสายอเมริกา
- เรื่องราวการดำเนินการของเสรีไทยสายอังกฤษ
ห้องที่ 4
- การร่วมมือทางทหารของเสรีไทยแพร่แลฝ่ายพันธมิตร
- การเจรจาของเสรีไทยกับฝ่ายพันธมิตร
- การทำลายล้างญี่ปุ่นด้วยระเบิดปรมาณู และจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
ดาบซามูไรสั้น และดาบซามูไรยาวของนายทหารญี่ปุ่น
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 0-5451-1177, 0-5451-1059
โทรสาร : 0-5452-2340
เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/freethaiphrae
วันและเวลาทำการ
ทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ค่าเข้าชม
ไม่เก็บค่าเข้าชม
การเดินทาง
1.โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1(พหลโยธิน) แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเข้าสู่ตัวจังหวัดแพร่ ใช้เวลา เดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง
2.โดยรถประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-แพร่ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ(หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว
3.โดยรถไฟ ลงสถานีอำเภอเด่นชัย ให้บริการเดินรถระหว่างอำเภอเด่นชัยและจังหวัดต่างๆ ทั้งเที่ยวขึ้นและเที่ยวล่องทุกวัน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 24 กิโลเมตร
4. โดยเครื่องบิน มีบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-แพร่ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีลานจอดรถ