ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
ภายในอาคารแบ่งออกเป็น 3 ชั้น
ชั้นที่ 1
- ห้องเกษม (เกษม จันทรประสงค์) เป็นห้องติดต่องานธุรการและติดต่องานทั่วไปของกลุ่มวิจัย
- ห้องสมุดอำไพ (อำไพ ยงบุญเกิด) รวบรวมหนังสือ เอกสารวิชาการ วารสารและสิ่งตีพิมพ์ทางด้านพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะด้านอนุกรมวิธานพืช ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ กว่า 2,000 เล่ม
- ห้องจเร (จเร สดากร) รวบรวมเอกสารสำคัญและหนังสืออนุรักษ์ที่สำคัญ
- ห้องลักษณากร (มจ. ลักษณากร เกษมสันต์) เป็นห้องจัดวางแผ่นศิลาฤกษ์และพิธีเปิดอาคารที่ลงพระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดแสดงนิทรรศการวิชาการความรู้ด้านพฤกษศาสตร์และงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง
- ห้องบุรฉัตรไชยากร เป็นห้องปฏิบัติการด้านพฤกษศาสตร์และอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ชั้นที่ 2
- พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ เป็นพิพิธภัณฑ์พืชแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งขึ้นช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นพื้นที่รวบรวบตัวอย่างพรรณไม้ เพื่อใช้ในการศึกษาด้านอนุกรมวิธานพืช และเพื่อตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช มีประมาณ 80,000 หมายเลข โดย Dr.A.F.G. Kerr นายแพทย์ชาวไอร์แลนด์เป็นผู้วางรากฐานการสำรวจและรวบรวมพรรณไม้ไว้ ส่วนใหญ่เป็นตัวอย่างแห้ง อาทิ ตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ และยังมีห้องปฏิบัติงานของนักวิชาการและผู้เข้ามาขอใช้ตัวอย่างพรรณไม้
- ห้อง Craib เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ (type specimens) ซึ่งเป็นตัวอย่างอ้างอิงแรกในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์
- ห้อง Kerr เก็บรวบรวมเอกสารด้านประวัติศาสตร์ของการศึกษาพรรณไม้แห่งประเทศไทยและภาพตัวอย่างพรรณไม้ไทย
- ห้องระบิล ห้องนายเนย ห้องนายพุด เป็นห้องปฏิบัติงานของนักพฤกษศาสตร์
ชั้นที่ 3
- ห้องทรงงานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะองค์ประธานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชแห่งประเทศไทย ที่พระราชทานให้กรมวิชาการเกษตร มีส่วนร่วมในการปฏิบัติภารกิจสนองพระราชดำริ จัดทำระบบฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชที่เก็บสะสมในพิพิธภัณฑ์
- ห้องรัชนีแจ่มจรัส เป็นส่วนของห้องประมวลผลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและงานฐานข้อมูลพันธุ์ไม้
- ห้องกสิน (กสิน สุวตพันธุ์) เป็นห้องประชุมเผยแพร่อบรมวิชาการและความรู้ด้านพฤกษศาสตร์และคุ้มครองพันธุ์พืชแก่ผู้สนใจ
- ห้องสกล เป็นห้องรวบรวมตัวอย่างดองของพืช
- ห้องพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน รวบรวมงานด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน สมุนไพร เครื่องเทศ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ไม้เป็นองค์ประกอบ และยังมีห้องเก็บรวบรวมตัว ตัวอย่างเมล็ด ผล และตัวอย่างเนื้อไม้ของพืช
- ห้องรัชนีแจ่มจรัส เป็นพื้นที่ส่วนเก็บข้อมูลโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และงานฐานข้อมูลพรรณไม้
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
สวนครูวงค์ เป็นพื้นที่แสดงพรรณไม้หายากและพรรณไม้ประดับทั้งของไทยและต่างประเทศ มีจุดเด่นคือ
- ต้นโสกระย้า ดอกสีแดงส้มเป็นช่อห้อยระย้าคล้ายโคมไฟแชนดาเลีย ความยาวของช่อตั้งแต่ 50-90 เซนติเมตร เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มโปร่ง ขยายพันธุ์ได้ยาก จัดว่าเป็นต้นไม้ที่มีดอกสวยที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง
ต้นโสกระย้า ที่นำมาปลูกในกรุงเทพฯมีประวัติย้อนไปได้ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จเยือนพม่า โดยผู้ติดตามได้นำต้นไม้ชนิดนี้กลับมาด้วย สำหรับต้นที่อยู่ด้านข้างอาคารพิพิธภัณฑ์มาจากการเพาะเมล็ด ผู้สนใจสามารถมาชมดอกของโสกระย้า ได้ในช่วงปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน
- ต้นลำดวนแดง ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกราวเดือนธันวาคมถึงเมษายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2543
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 02 - 940 5628
โทรสาร : 02 - 579 0548
เว็บไซต์ : http://www.doa.go.th/pvp/index.php?option=com_content&view=article&id=38&Itemid=119
อีเมล : pvpo@doa.go.th
วันและเวลาทำการ
เปิดจันทร์-ศุกร์ 08.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทาง
รถโดยสารประจำทางสาย 26, 29, 34, 39, 42, 59, 63, 503, 510, 512, 513, 522
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อประสานงานล่วงหน้า
ข้อมูลสำหรับผู้พิการ
ห้องน้ำผู้พิการ, ลิฟต์
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีที่จอดรถ