กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   ศูนย์วัฒนธรรมไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์

ศูนย์วัฒนธรรมไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์

19 พฤษภาคม 2564

ชื่นชอบ 520

11,413 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

 ศูนย์วัฒนธรรมไทโส้อำเภอกุสุมาลย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2524 เพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนเครื่องประดับต่างๆ ของเจ้าเมืองกุสุมาลย์และของบรรพชนคนไทโส้ทั้งที่เกี่ยวข้องกับพิธีทางศาสนา ภูตผีที่ชาวไทโส้นับถือ ประเพณี วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของคนไทโส้ในอดีต ให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า นอกจากนั้นยังเป็นสถานที่จัดงานเทศกาลโส้รำลึก ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่เจ้าของชนเผ่าไทโส้ ซึ่งตรงกับ วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นประจำทุกปี ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ว่าการ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

 

ประวัติความเป็นมาของอำเภอกุสุมาลย์ 

เมื่อ พ.ศ.2381  ราชวงศ์คำ  ได้รับตำแหน่งเป็นพระยาประเทศธานีเจ้าเมืองสกลนคร  จึงนำกำลังไพร่พลไปเกลี้ยกล่อมเอาครอบครัวหัวเมืองลาวที่ค้างอยู่ทางฝากฝั่งแม่น้ำโขงทางทิศตะวันออก ให้ข้ามมาเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสนับสนุนของกองทัพญวน พ.ศ. 2385  ท้าวโรงกลางบุตรเจ้าเมืองวัง  ท้าวเพี้ยเมืองสูง  ท้าวเพี้ยบุตรโคตร หัวหน้าข่ากระโซ่ กับครอบครัวบ่าวไพร่ ได้เข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภารเป็นจำนวนมาก และตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่แถบฝั่งแม่น้ำโขง  และรอบเมืองสกลนคร

 

พ.ศ.2387   พระยาประเทศธานี  นำหัวหน้าครอบครัวลาวกลุ่มต่าง ๆ ลงไปเฝ้าเสด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่กรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านประขาวพันนาและบ้านกุสุมาลย์ขึ้นเป็นเมืองให้ท้าวโรงกลางเป็นพระเสนาณรงค์เจ้าเมืองพันนา  ท้าวเพี้ยงเมืองสูงเป็นหลวงอรัญอาสาเจ้าเมืองกุสุมาลย์ พระราชทานเครื่องยศตามตำแหน่ง ให้ขึ้นตรงต่อเมืองสกลนคร

 

พ.ศ.2405  ในราชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้แต่งตั้งเมืองโพธิไพศาล(ปัจจุบันตำบลโพธิไพศาล) เพราะเกิดขัดแย้งชิงตำแหน่งหน้าที่ราชการกัน  ให้ท้าวขัติยะเป็นพระไพศาลเสนานุรักษ์เจ้าเมืองโพธิไพศาล และในปีเดียวกันได้ย้ายเมืองกุสุมาลย์จากที่เดิม(ปัจจุบันคือบ้านเมืองเก่า)เพราะเกิดความแห้งแล้งและเกิดโรคระบาดมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน

 

พ.ศ.2419  หลวงอรัญอาสาได้ถึงอนิจกรรม ท้าวกิ่งบุตรชายหลวงอรัญอาสา  ซึ่งเคยไปเรียนวิชาการปกครองจากกรุงเทพฯ  ได้เป็นเจ้าเมืองกุสุมาลย์สืบต่อและได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงอรัญอาสา

 

พ.ศ.2439  ในราชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนแปลงเมืองกุสุมาลย์และเมืองโพธิไพศาล ไปขึ้นกับเมืองนครพนม ต่อมาเมื่อมีการส่งเจ้านายเป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลเจ้าฝ่ายเหนือ เมืองต่างๆจึงเปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอ เจ้าเมืองดำรงตำแหน่งนายอำเภอ

 

พ.ศ.2456  ทางราชการยุบอำเภอกุสุมาลย์แล้วโอนท้องที่ไปขึ้นกับอำเภอเมืองสกลนครบ้าง อำเภอเมืองนครพนมบ้าง  กุสุมาลย์ จึงมีฐานะเป็นตำบลมาจนกระทั่ง วันที่  1  ตุลาคม  2505  จึงได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ

 

พ.ศ.2510  ได้มีราชกฤษฎีกา  ยกฐานะจากกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอเมื่อวันที่  14  พฤศจิกายน  2510  มีพื้นที่ 454 ตารางกิโลเมตร  ตั้งอยู่ทิศตะวัตออกเฉียงเหนือของจังหวัดสกลนคร ระยะทางห่างจากจังหวัดสกลนคร 40 กิโลเมตร 

 

 

 

 

บริหารจัดการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

คนโทเงินพระราชทาน, ตราประทับเจ้าเมือง, หมวกเจ้าเมือง, ดาบเจ้าเมือง เป็นต้น

แผนที่

Map

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

333 หมู่ 1 ตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร 47210
โทรศัพท์ : 042-769 052 / สำนักงานเทศบาลสุกุมาลย์ โทร. 042-769 318
เว็บไซต์ : http://www.govesite.com/kusumal/index.php?p=1
อีเมล : kusumal2555@hotmail.co.th

วันและเวลาทำการ

 เปิดจันทร์-ศุกร์

เวลา 08.30-16.30 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

6

แบ่งปัน

กิจกรรม

21 เม.ย. 2560

21 เมษายน 2560
ประเภทของผีที่เกี่ยวข้องกันการเหยา   แบ่งได้ 4 ชนิด คือ 1.       ผีหมอมนต์ 2.       ผีฟ้า หรือผีน้ำ 3.       ผีคุณ   4.       ผีมูลหรือผีตระกูล 1.       ประเภทของหมอมนต์ มีพิธีกรรม เช่น เหยาเลี้ยง หรือเหยาบน (ส่วนการเกลือกไข่ กระทง ลงผีน้อย หรือผีลงยันต์นั้นเป็นส่วนประกอบ) 2.       ประเภทผีฟ้า (ผีน้ำ) มีพิธีกรรม คือ -          เหยาธรรมดา -          เหยารักษาคนป่วย -          เหยาเรียกขวัญ แต่ละพิธีจะมีกิจกรรมโดยละเอียด ดังนี้ พิธีเกลือกไข่  หาไข่ไก่มา 1 ฟอง ให้ผู้ชำนาญในการเกลือกไขทำการอธิษฐานเสี่ยงทาย หากเป็นผีคุณให้กินตา หากเป็นผีเชื้อ (ผีตระกูลบรรพบุรุษ)  ให้กินปีก หากเป็นผีต้องให้กินกระดูกสันหลังแล้วใช้มือทั้งสองข้างถือไข่กวาดและถูเบาๆ ตามร่างกายของผู้ป่วยในทำนายว่าผีทำ (ผีเข้าสิง) ให้สำแดงเดชที่ไข่ตามที่อธิษฐานเสี่ยงทายแล้วทำให้ไข่แตกแกะไข่ออกให้อยู่ในชาม ใช้ใบกล้วย 1 นิ้วครึ่ง  ความยามตามต้องการกลับไข่ดูด้านตรงข้ามให้เห็นเด่นชัดหากมีผีทำให้แสดงในไข่แล้วบะไว้ (สัญญาไว้)  เป็นเสร็จพิธี พิธีลงยันต์  เริ่มด้วยการทำคายขันห้าวางไว้บนหมอน  ใช้ผ้ายันต์ปิดตาคนที่จะลงยันต์มือทั้งสองข้างของผู้ลงยันต์จะประนมมือนึกถึงคุณพระรัตนตรัยแล้วนั่งตามที่ตนถนัดผู้ลงยันต์จะมีอาการสั่งไปเรื่อยๆ ถ้าหากทราบเกี่ยวกับเรื่องราวใดก็จะกล่าวเรื่องนั้นออกมาในทำนองว่าผิดผีป่า  ผิดผีนา ผิดผีบ้าน ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่งผู้ถามก็จะถามว่าจะให้ทำอย่างไรและต้องการอะไร  ผู้ลงยันต์ก็จะตอบในทำนองให้ “บน”  ให้คนป่วยหายเสียก่อนหากคนป่วยหายแล้วให้แก้บนในคาย ซึ่งเรียกว่า “ขันห้า” จะมีเงิน 8 บาท ส่วนเหล้า 1 ขวด นั้นตั้งไว้นอกขันห้า (คาย) เมื่อคนป่วยหายและได้แก้บนก็เลิกคายลงยันต์ เป็นเสร็จพิธี พิธีกระท็อง  ใช้ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว  ยาวประมาณ 2 นิ้ว ผ่าครึ่งโยนลงไปในกระด้งที่มีข้าวสารประมาณหยิบมือเดียว พร้อมทั้งอธิษฐานเสี่ยงทายตามความชำนาญของผู้เสี่ยงทาย  เมื่อเสี่ยงเป็นที่พอใจแล้วก็จะบะไว้ (สัญญา) ในทำนองว่า ถ้าหากว่าให้คนป่วยหายแล้วจะทำการแก้บน หากไม่หายก็ไม่ต้องแก้บน เป็นเสร็จพิธี ประเภทของการเหยา พิธีเหยาเรียกขวัญ แต่งคาย ขันห้า มีไข่ไก่ด้วย 1 ฟอง ข้าวสาร 1 ถ้วย เงิน 6 บาท ง้าว 1 เล่ม เหล้า 1 ขวด น้ำหอม 1 ขัน  หมอน 1 ใบ  แคน 1 อัน  พร้อมด้วยคนเป่าพอได้เวลาฤกษ์ “หมอเหยา”  ก็ขับให้เข้ากับเสียงแคน ในการลำขับนี้เป็นการเสี่ยงทายหาสาเหตุว่าในขณะนี้ขวัญของคนป่วยอยู่ที่ใดและอยู่กับใคร เมื่อหมอแคนเป่าแคน หมอเหยาก็จะลำเรียกขวัญ ขวัญของคนป่วยอยู่ที่ใดก็ให้กลับเข้ามาสู่ร่างให้ได้ เมื่อขวัญมาแล้วหมอเหยาก็จะบอกว่า ขวัญมาแล้ว และทำการผูกแขนรับขวัญคนป่วย เป็นเสร็จพิธี เหยารักษาคนป่วย  มีการแต่งคายตามแบบอย่างการเยา  เรียกขวัญทุกอย่าง เพิ่มผ้าถุง 1 ผืน  ผ้าขาวม้าหรือผ้าสีขาว ยาว 1 วา เงินอีก 12 บาท หมอเหยาจะเพิ่มอิทธิฤทธิ์ในการปราบผีวิญญาณที่เข้ามาสิงในร่างกายของคนป่วย เช่น การเหยียบไฟ แล้วไปเหยียบในที่เข้าใจว่าวิญญาณเข้าหลบซ่อนอยู่ในร่างกายคนป่วย  ตัดกระทงหน้าวัว (คล้ายกระทงสามเหลี่ยม ใช้เฉพาะกรณีที่มีการตัดกรรมตัดเวร  โดยใช้เส้นด้ายทำเป็นเชือกยาวพอประมาณข้างหนึ่ง ผู้ป่วยจับถือไว้ในลักษณะทั้งจับเหยียดขาและเท้าทั้งสองข้างไปข้างหน้าอีกข้างหนึ่งผูกติดกับกระทง หมอผีจะถือง้าวลำอ่อยลำเชิญและตัดกรรมตัดเวร พอลำมาถึงตอนตัดหมอเหยาก็ใช้ง้าวตัดด้ายให้ขาดออกจากกันเป็น 2 ท่อน แล้วนำด้ายที่ตัดไปผูกแขนผูกคอผู้ป่วยไว้ เพื่อเป็นการป้องกันวิญญาณร้ายไม่ให้เข้ามารังครวญอีก  นอกจากนี้หมอเหยายังอมเทียนเป่าเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยในทุกๆ แห่งที่คิดว่าวิญญาณสิงสู่ในร่างกายของผู้ป่วยเอง  เหยาแก้บน  แต่งคายตามแบบอย่างพิธีข้างต้น (เหยารักษาคนป่วย)  แต่เพิ่มคายเป็น 2 คาย มีเพิ่มกระทงที่มี 9 ช่อง ให้ทำรูปช้าง รูปม้า หรือรูปวัว (แต่งคล้ายกับเครื่องสะเดาะเคราะห์)  หมอเหยาจะเริ่มเหยาด้วยการแต่งชุดตามผีบอก  นั่งพับเพียบด้วยการก้มและเงยศีรษะเอามือทั้งสองข้างเสยผมพร้อมกับลำบอกให้ทราบว่าผู้ป่วยได้หายจากอาการป่วยแล้ว จึงได้แต่งเครื่องสังเวยมาแก้บน ขอให้วิญญาณที่เกี่ยวข้องจงมารับเครื่องสังเวยที่จัดไว้พร้อมแล้วนี้ และทำพิธีเชิญผีออกจากร่างกายของผู้ป่วยโดยใช้ข้าวเหนียวสุกกวาดตามร่างกายของผู้ป่วยซึ่งในขณะนั้นหายดีแล้ว อยู่ในลักษณะนั่งเหยียดขาทั้งสองข้างหมอเหยาจะลำอ่อยเชิญวิญญาณที่ยังคงเหลืออยู่ให้ออกไปโดยใช้ข้าวสุกกวาดตามร่างการของผู้ป่วยแล้วทิ้งลงในกระทง  ประมาณ 3-5 ก้อน แล้วทำการตัดด้ายจองเวรจองกรรม  โดยหมอเหยาใช้ง้าวตัดด้ายซึ่งผูกระหว่างกระทงและมือของผู้ป่วยขาดออกเป็น 2 ท่าน ญาติผู้ป่วยจะยกกระทงนั้นออจากบริเวณบ้านไปตามทิศทางที่ “ล่าม” บอกเพื่อส่งวิญญาณและในขณะเดียวกันหมอเหยาก็จะเสี่ยงทายหาสมุนไพรเพื่อรักษาคนป่วยให้หายขาด ต่อไป
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง