กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

06 กันยายน 2566

ชื่นชอบ 650

39,219 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีความสำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมแสดงถึงความรุ่งเรืองสูงสุดสมัยหนึ่งของเมืองลพบุรี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พื้นที่ภายในพระราชวังแบ่งออกเป็น ๓ เขต คือ เขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นใน มีพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างดังนี้

 

๑) เขตพระราชฐานชั้นนอก มีสิ่งก่อสร้าง ๕ หลัง คือ

. อ่างเก็บน้ำประปา เป็นที่เก็บน้ำใช้ภายในพระราชวัง เก็บน้ำที่ไหลจากอ่างซับเหล็กตามท่อดินเผามายังพระราชวัง และส่งต่อไปใช้ตามตึกต่างๆ

๑.๒ สิบสองท้องพระคลัง สันนิษฐานว่าเป็นพระคลังเก็บสินค้าหรือสิ่งของเพื่อใช้ในราชการ

๑.๓ ตึกเลี้ยงรับรองแขกเมือง เป็นสถานที่เลี้ยงต้อนรับคณะราชฑูตต่างประเทศ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดพระราชทานเลี้ยงแก่คณะราชทูตเชอร์วาเลีย เดอ โชมองต์ จากประเทศฝรั่งเศส ในปี พ..๒๒๒๘ 

๑.๔ ตึกพระเจ้าเหา สันนิษฐานว่าเป็นหอพระประจำพระราชวัง ชื่อพระเจ้าเหา หมายถึง พระพุทธรูปเก่าแก่สำคัญที่ประดิษฐานอยู่ภายในตึกนี้ 

๑.๕ โรงช้างหลวง เป็นที่อยู่ของช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและเจ้านายสำหรับใช้ในราชการเสด็จประพาสป่าล่าสัตว์และที่พักของควาญช้างและผู้ดูแลช้าง

 

๒) เขตพระราชฐานชั้นกลาง มีสิ่งก่อสร้าง ๒ หลัง คือ

๒.๑ พระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นที่ประทับออกว่าราชการแผ่นดินและประชุมองคมนตรี 

๒.๒ พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท เป็นที่เสด็จออกต้อนรับคณะราชทูตต่างประเทศ 

 

๓) เขตพระราชฐานชั้นใน มีสิ่งก่อสร้าง ๑ หลัง คือ

๓.๑ พระที่นั่งสุธาสวรรค์ เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในปัจจุบันจะเห็นฐานอาคารขนาดใหญ่ มีเกยสำหรับทรงเสลี่ยงหรือทรงม้า สภาพเดิมถูกบันทึกว่า มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีสระน้ำ ๔ สระ มีเขาจำลองและปลูกพันธุ์ไม้

 

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้สร้างหมู่พระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่างๆ

ใหม่เพิ่มขึ้นดังนี้

เขตพระราชฐานชั้นกลาง มีสิ่งก่อสร้าง ๒ หลัง คือ

๑.๑ หมู่พระนั่งพิมานมงกุฎ เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย พระที่นั่งไชยศาสตรากร พระที่นั่งอักษรศาสตราคม พระที่นั่งสุทธิวินิจฉัย ห้องเสวยพระกระยาหาร ห้องพระบรรทม

๑.๒ ทิมดาบ เป็นที่พักของทหารรักษาการณ์พระราชวัง 

เขตพระราชฐานชั้นใน มีสิ่งก่อสร้าง คือ ตึกพระประเทียบ เป็นโรงครัวและศาลาเชิญเครื่องเสวย

ใช้เป็นที่พักของข้าราชการบริพารฝ่ายในของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

 

ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุภายในพื้นที่ ๓ อาคาร คือ

๑.พระที่นั่งจันทรพิศาล สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เดิมใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับประชุมเสนาบดี หลังจากถูกทิ้งร้างไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระที่นั่งขึ้น ใช้เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร แสดงภาพประวัติศาสตร์ และโบราณวัตถุที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

 

๒.พระที่นั่งพิมานมุงกุฎ เป็นตึก ๓ ชั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๔) ใช้เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับพัฒนาการเมืองลพบุรี ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยปัจจุบัน ดังนี้

ชั้นที่ ๑ จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่บอกเล่าเรื่องราวเมืองลพบุรีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ราว ๓,๕๐๐ ปี ที่แล้ว) ต่อเนื่องมาจนถึงวัฒนธรรมทวารวดี 

ชั้นที่ ๒ จัดแสดงนิทรรศการลำดับพัฒนาการเมืองลพบุรีเป็นเรื่องราวต่อเนื่องจากชั้นที่ ๑ ต่อจากช่วงวัฒนธรรมทวารวดี เข้าสู่ช่วงความเจริญของวัฒนธรรมอิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทย แสดงศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น ทับหลัง พระพุทธรูปนาคปรก และเทวรูปต่างๆ ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา จัดแสดงงานศิลปกรรมและงานช่างในสมัยอยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

ชั้น ๓ เดิมเป็นห้องบรรทมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๔) จัดแสดงเหมือนครั้งที่ยังประทับอยู่ มีพระแท่นบรรทม ฉลองพระองค์ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระสาทิสลักษณ์ เหรียญเงินต่างๆ เครื่องแก้ว เครื่องประกอบโต๊ะพระกระยาหารที่มีตราประจำพระองค์(มงกุฎ) เป็นต้น

 

๓.หมู่ตึกพระประเทียบ เดิมเป็นที่ประทับและที่พักของเจ้านายฝ่ายในและข้าราชบริพารฝ่ายใน ใช้เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรและใช้เป็นพื้นที่เกี่ยวข้องกับงานนิพิพิธภัณฑ์ ปัจจุบันจัดนิทรรศการวิถีชีวิตภาคกลาง และนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทยเกี่ยวกับวิถีชีวิตพื้นบ้านลพบุรีใช้ชื่อว่า “วิถี ผู้คน ตัวตน คนลพบุรี”

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น ณ เมืองลพบุรี โดยช่างชาวฝรั่งเศสและอิตาลี ใช้สำหรับเป็นที่ประทับพักพระอิริยาบถ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง 

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ถนนสรศักดิ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000
โทรศัพท์ : 0-3641 1458
โทรสาร : 0-3641 4372
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/somdetphranaraimuseum
อีเมล : Somdetphranarai_museum@hotmail.com

วันและเวลาทำการ

  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ เปิดวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.
  • บราณสถานพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เปิดวันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.30 น.

ค่าเข้าชม

  • ชาวไทย 30 บาท
  • ชาวต่างประเทศ 150 บาท

*นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ, ผู้สูงอายุ, ภิกษุสามเณรและนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม*

การเดินทาง

1. รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอพระพุทธบาท เข้าสู่จังหวัดลพบุรี ระยะทางประมาณ 153 กิโลเมตร 

2. รถประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-ลพบุรี ออกจากสถานีขนส่งจตุจักร(หมอชิต 2) ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

3. รถไฟ มีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) ไปยังจังหวัดลพบุรี ทุกวัน 

4.รถตู้ สายกรุงเทพฯ-ลพบุรี ออกจากสถานีขนส่งจตุจักร(หมอชิต 2) และหน้าห้างฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ทุกวัน มี 2 คิว คือ

  • ปลายทางหน้าสถานีรถไฟลพบุรี
  • ปลายทางพระปรางค์สามยอด

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีบริการรถเข็นสำหรับผู้สูงอายุ, ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ณ จุดจำหน่ายบัตรด้านหน้า

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

13

แบ่งปัน

กิจกรรม

11 ต.ค. 2567

05 ม.ค. 2568

03 ตุลาคม 2567
ร่วมนับถอยหลังเพื่อเข้าสู่กิจกรรม ๑๐๐ ปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์  กับ “๑๐๐ ปี มีอะไร?? ๑๐ สิ่งห้ามพลาดในงาน ๑๐๐ ปี ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน”  Black & White Palace เมื่อครั้ง... วังนี้สี “ขาวดำ” “ภาพหนึ่งภาพแทนคำบอกเล่านับพัน”   ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่นิทรรศการภาพถ่ายเก่าที่จะพาย้อนกลับไป เมื่อครั้งที่พระราชวังแห่งนี้ยังถูกย้อมด้วยสีเพียงขาวและดำ จัดแสดงตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ - ๕ มกราคม ๒๕๖๘ ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล อาคารทิมดาบด้านทิศใต้ และพระนารายณ์ราชนิเวศน์   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ เปิดให้บริการวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สอบถามข้อมูล โทร. 036 411 458

23 ก.ย. 2567

13 ต.ค. 2567

23 กันยายน 2567
เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน  หรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ในปัจจุบัน  ขอเชิญร่วมกิจกรรม “Twilight at the Museum” นำชมพิพิธภัณฑ์ยามเย็น   พบกับ นิทรรศการ Black & White Palace เมื่อครั้ง...วังนี้สี “ขาวดำ” นิทรรศการ Homecoming โบราณวัตถุคืนถิ่น อาคารจัดแสดงและโบราณสถานในพระนารายณ์ราชนิเวศน์   ในวันที่ ๑๒ และ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. จำกัดจำนวน ๒๐ ท่าน/วัน เท่านั้น สนใจกรุณาลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://forms.gle/Htwo7sKZcLtWnajr6 หรือแสกน QR Code บนโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์   **ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าชมตามปกติ** ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท พระภิกษุ สามเณร นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบและผู้สูงอายุ(60 ปีขึ้นไป) ไม่เก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 036-411458  

08 ก.พ. 2567

18 ก.พ. 2567

01 กุมภาพันธ์ 2567
งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  วันที่ 9 – 18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี  ภายใต้ธีมงาน “นุ่งโจง ห่มสไบ แต่งไทย  ทั้งเมือง”    กิจกรรมไฮไลท์ ขบวนแห่ประวัติศาสตร์พิธีเปิดงาน วท.9 ก.พ 67 เวลา 16.00 น. ชมฟรี การแสดงประวัติศาสตร์จินตนาการ ประกอบแสง สี เสียง ณ ตึกรับรองราชฑูต (สถานที่จริงตามประวัติศาสตร์) เปิดแสดงวันละ 1 รอบ เวลา 20.00 น. กิจกรรม แต่งไทยไหว้พระ เสริมบารมี ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (ตรงข้ามสถานีรถไฟ) กิจกรรม บ้านไทย วิถีไทย ลานวัฒนธรรม ตลาดซาโม่น ตลาดย้อนยุค (แลกเบี้ย) กิจกรรม สวดมนต์พระปริตรรามัญ เจริญจิตภาวนา  ณ พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท การแสดงละครลิง คณะประกิต ศิษย์พระกาฬ เปิดแสดงวันละ 3 รอบ (10.00, 16.30, 18.30 น.) หมากรุกคน เปิดแสดงวันละ 2 รอบ วันเสาร์ 17 และวันอาทิตย์ 18 ก.พ 67 เวลา 16.00 น. กิจกรรม “แต่งไทยจดทะเบียนสมรส” วท.14 ก.พ 67 กิจกรรมเทิดพระเกียรติฯ วท.16 ก.พ 67 - ช่วงเช้า: ทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง พระสงฆ์ และพิธีบวงสรวง - ช่วงบ่าย: รำบวงสรวงถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การเสวนาทางวิชาการ “เล่าเรื่อง Soft Power สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช” โดย คุณรอมแพง เจ้าของบทประพันธ์เรื่อง บุพเพสันนิวาส และพรหมลิขิต ร่วมเสวนา นิทรรศการ ตำหรับโอสถพระนารายณ์ พร้อมทั้งการนวดแผนไทย นวดจับเส้น การแสดงเวทีกลาง การประดับตกแต่งไฟโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ พระคลังศุภรัตน์(หมู่ตึกสิบสองท้องพระคลัง), พระที่นั่งสุทธาสวรรย์, สวนนารายณ์นฤมิต, เทวสถานปรางค์แขก, สวนราชานุสรณ์ กิจกรรมที่บ้านหลวงรับราชทูต(บ้านวิชาเยนทร์) กิจกรรมที่วัดปืน(ชุมนุมเพลงลพบุรี บทกวีในเสียงเพลง, การประชัน กลอนสด) กิจกรรมที่ศาลลูกศร (แข่งขันหมากรุก)   สอบถามข้อมูล: ททท.สำนักงานลพบุรี โทร. 036-770 096-7  Facebook: https://www.facebook.com/KingnaraiLopburi/

03 ก.ค. 2566

14 ก.ค. 2566

03 กรกฎาคม 2566
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรม “ศาสตร์แห่งการอนุรักษ์ : ภาพวาดสีน้ำมันสำเนาแห่งอดีต”  วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.30 – 12.00 น.  ณ ห้องประชุมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์  ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถลงทะเบียน กดที่นี่ https://forms.gle/mHoGcPJZnxpLo8r66 (ภายในวันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2566 ด่วน ที่นั่งมีจำนวนจำกัด)   09.15 - 10.15 น. การบรรยาย เรื่อง “พระเกียรติพระยศแล้ หลากล้ำโบราณ 3 ภาพประวัติศาสตร์แห่งรัชสมัย” โดย รศ. ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี : คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล 10.30 - 12.00 น.  การบรรยายและ Workshop เรื่อง “วิทยาศาสตร์กับการอนุรักษ์ภาพวาดสีน้ำมัน”   ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 036-411-458 ต่อ 107, 090-426-1284 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์  เปิดให้บริการวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น ค่าเข้าชม : คนไทย 30 บาท / ชาวต่างชาติ 150 บาท

09 ก.พ. 2566

19 ก.พ. 2566

06 กุมภาพันธ์ 2566
งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประจำปี 2566  วันที่ 10-19 กุมภาพันธ์ 2566  ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี และโบราณสถานต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง  ภายใต้ธีม “นุ่งโจง ห่มสไบ แต่งไทย ทั้งเมือง”   มีหลากหลายกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ เสวนาทางวิชาการความรู้ด้านประวัติศาสตร์สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การจัดแสดงนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การรำบวงสรวง วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 การแสดงประวัติศาสตร์จินตนาการ ณ สถานที่จริง กิจกรรมที่บ้านหลวงรับราชทูต สวนนารายณ์นฤมิตในเขตพระราชฐานชั้นใน กิจกรรมสวดมนต์ยามเย็นและการประชันกลอนสด ที่โบราณสถานวัดปืน กิจกรรมแต่งไทยไหว้พระเสริมบารมี ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตลาดย้อนยุค / ลานวัฒนธรรม ลานวิถีไทย การแสดงละครลิง / การแสดงหมากรุกคน การแสดงบนเวทีกลางตลอด 10 คืน   สอบถามข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่: ททท.สำนักงานลพบุรี โทร. 036-770096-7  หรือ Facebook Fanpage : TAT Lopburi 
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง