แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เป็นโบราณสถานของชาติ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมตะวันตก อายุกว่า 100 ปี ภายในจัดแสดงศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ตอนล่าง
อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เดิมเป็นคฤหาสน์ของ พระยาสุนทรานุรักษ์(เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา ต่อมาได้ถูกใช้เป็นสถานที่ของหน่วยงานต่างๆ อาทิ
- พ.ศ.2437 ใช้เป็นที่พำนักและว่าราชการของพระยาวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ต่อมาก็คือ เจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม)
- พ.ศ.2496 ใช้เป็นศาลาว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นศาลากลางจังหวัดตามลำดับ
- พ.ศ.2516 กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนอาคารแห่งนี้เป็นโบราณสถาน และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานของชาติ
- วันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2525 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพวรางกูล ในหลวงรัชกาลที่ 10 เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เพื่อให้เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุภาคใต้ตอนล่าง และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ชาติพันธุ์วิทยา ศิลปะจีน ศิลปะพื้นบ้านพื้นเมือง นอกจากนี้ ยังจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุที่เกี่ยวกับตระกูล ณ สงขลา ซึ่งเป็นตระกูลเจ้าเมืองสงขลาในอดีตด้วย
อาคารจัดแสดงมี 2 ชั้น
ชั้นล่าง แบ่งการจัดแสดงเป็น 8 ส่วน ได้แก่
- วิถีชีวิตสงขลา
- ภูมิลักษณ์คาบสมุทรสงขลา
- สงขลายุคก่อนประวัติศาสตร์
- สงขลาสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์
- เมืองสงขลาหัวเขาแดง
- เมืองสงขลาแหลมสน
- เมืองสงขลาบ่อยาง
- สงขลาย้อนยุค
ชั้นที่ 2 มีห้องจัดแสดง 5 ห้อง ได้แก่
- ความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศ
- บันทึกสงขลา
- ศิลปกรรมสงขลา
- ประวัติศาสตร์โบราณคดีภาคใต้ตอนล่าง
- สุนทรียภาพในวิถีชีวิตของชาวภาคใต้ตอนล่าง
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
- อาคารพิพิธภัณฑ์โบราณสถานของชาติ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมตะวันตก อายุกว่า 100 ปี
- จัดแสดงโบราณวัตถุในศิลปะทวารวดี ศรีวิชัย และรัตนโกสินทร์ ซึ่งแสดงถึงบทบาทการเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญมาแต่โบราณของเมืองสงขลา
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 074-311 728
โทรสาร : 074-311 881
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/songkhlamuseum/
อีเมล : songkhlamuseum@gmail.com
วันและเวลาทำการ
วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม
- ชาวไทย 30 บาท
- ชาวต่างประเทศ 150 บาท
- นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
การเดินทาง
โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2 หรือถนนธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงชุมพร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทุ่งสง นครศรีธรรมราช จนถึงจังหวัดพัทลุง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4 แล้วขับต่อไปจนถึงอำเภอหาดใหญ่ และจังหวัดสงขลา รวมระยะทางประมาณ 950 กิโลเมตร
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีพื้นที่สำหรับจอดรถ