แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้สร้างพิพิธภัณฑ์ดนตรีของภูมิภาคอุษาคเนย์(South East Asia Music Museum) บนพื้นที่ 5 ไร่ มีพื้นที่ใช้สอย 8,400 ตารางเมตร พิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ ถือได้ว่า เป็นพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล เป้าหมายของพิพิธภัณฑ์ดนตรี เพื่อสร้างให้เป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี เป็นเรื่องราวในอดีตที่จะสร้างภูมิปัญญาให้กับคนปัจจุบัน และเป็นพลังที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับอนาคตพิพิธภัณฑ์ดนตรีเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง (ดนตรี) เป็นสถานที่เก็บรวบรวมเครื่องดนตรี บทบาทของดนตรีที่เกี่ยวข้องกับสังคม รวบรวมเสียงของเครื่องดนตรี ทั้งดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน และดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์
พื้นที่พิพิธภัณฑ์ดนตรี ประกอบไปด้วย หมู่เรือนกลางน้ำ ห้องพักคอย ห้องสมุดดนตรี ห้องแสดงนิทรรศการ ห้องซ่อมเครื่องดนตรี (เก่า) ห้องสาธิตดนตรี ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องแสดงเครื่องดนตรี ห้องแสดงดนตรี เวทีแสดงดนตรีในพิพิธภัณฑ์ เวทีแสดงดนตรีหน้าพิพิธภัณฑ์ ห้องขายของที่ระลึก ห้องอาหาร และเรือนรับรองแขกกลางน้ำโดยภายอาคารพิพิธภัณฑ์ดนตรีจะมีทั้งหมด 7 ชั้น
ชั้นที่ 1-2 เป็นพื้นที่เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ทั้งร้านจำหน่ายของที่ระลึก
ห้องอการ และมีพื้นที่สำหรับการแสดงความเป็นภูมิภาคอุษาคเนย์ ที่ประกอบด้วย ผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ มีดนตรีที่หลากหลาย ดนตรีของชาวอุษาคเนย์สะท้อนความเป็นอยู่ของผู้คน ดนตรีเป็นวิถีชีวิตของชาวอุษาคเนย์
ชั้น 3-4 เป็นพื้นที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคอุษาคเนย์กับโลกว่าเป็นอย่างไร อุษาคเนย์อยู่กับโลกอย่างไร การเผยแพร่ วัฒนธรรมดนตรีของอุษาคเนย์ไปสู่ทวีปยุโรปและอเมริกา และแสดงถึงอิทธิพลของอุษาคเนย์ที่มีต่อโลกโดยนำเสนอดนตรีของภูมิภาคที่อยู่ในวัฒนธรรมอื่น
ชั้น 5 ของพิพิธภัณฑ์ดนตรี เป็นพื้นที่สำหรับการแสดงนิทรรศการดนตรีของโลก (World Music) เป็นนิทรรศการหมุนเวียน ห้องของภัณฑารักษ์ใช้ซ่อมเครื่องดนตรีที่ชำรุด การดูแลรักษาเครื่องดนตรี รวมถึงห้องที่ใช้ในการประชุมทางวิชาการพิพิธภัณฑ์
ชั้น 6-7 ของพิพิธภัณฑ์ดนตรี เป็นห้องแสดงดนตรี (Recital Hall) เป็นพื้นที่ของดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีประจำชาติ และดนตรีพื้นเมืองเป็นต้นมี ที่นั่งประมาณ 150 ที่นั่ง
พิพิธภัณฑ์ดนตรีควรมีชื่อเสียงในด้านคุณค่า รสนิยม ความงาม ความดี พิพิธภัณฑ์ดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแหล่งความรู้ดนตรีวิธีใหม่ เป็นแหล่งความรู้ของภูมิภาค เป็นมหาอำนาจของความรู้ เป็นแหล่งให้ความรู้ ให้ความเพลิดเพลิน ให้ความบันเทิง เป็นมหาวิทยาลัยของปวงชน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการ โดยขายความเป็นมาของสังคม เป็นต้น
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 0-2800-2525-34, 0-2441-5300
โทรสาร : 0-2800-2530
เว็บไซต์ : http://www.music.mahidol.ac.th/th/useful-contacts/
ค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทาง
การเดินทางมายัง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาได้ 3 เส้นทาง ได้แก่
ทางถนนสายเพชรเกษม เลี้ยวเข้าแยกถนนพุทธมณฑล สาย 4 (ระยะทางอีกประมาณ 10 กิโลเมตร)
การเดินทางโดยรถประจำทาง รถประจำทางสาย 84 ก (คลองสาน – ม.มหิดล) มีสองแถวจากปากทางถนนพุทธมณฑลสาย 4
เส้นทางถนนปิ่นเกล้า – นครชัยศรี เข้าได้ 3 ทาง คือ จากสี่แยกสะพานกรุงธนฯ ตรงมาตามถนนสายปิ่นเกล้า – นครชัยศรี จากสี่แยกสะพานพระปิ่นเกล้า ตรงมาตามถนนสายปิ่นเกล้า – นครชัยศรี จากปากทางบางขุนนนท์ เข้ามาทางตลิ่งชันแล้วเลี้ยวซ้ายมาบรรจบกับถนนปิ่นเกล้า – นครชัยศรี
การเดินทางโดยรถประจำทาง สาย 124 (สะพานอรุณอัมรินทร์ – มหิดล) ขึ้นได้ที่ป้ายตรงข้ามห้างพาต้า ปิ่นเกล้า สาย 125 (สะพานกรุงธน – มหิดล) ต้นทางอยู่บริเวณสถานีรถไฟสามเสน รถประจำทางปรับอากาศ สาย 515 ต้นทางอนุสาวรีย์ชัยฯ มาถึงหน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
รถตู้ (สหกรณ์กรุงเทพ – มหิดล) ขึ้นได้ที่หน้าภัตตาคารเสริมมิตร ตรงข้ามห้างพาต้า ปิ่นเกล้า
การเดินทางโดยรถไฟ ขึ้นได้ที่สถานีธนบุรี และสถานีกรุงเทพฯ โดยขบวนเที่ยวต่างๆ ซึ่งจะผ่านสถานีศาลายา เมื่อถึงสถานีศาลายาแล้วสามารถเดินเข้าทางด้านหลังมหาวิทยาลัย หรือโดยสารรถเมล์เล็กมาทางด้านหน้ามหาวิทยาลัย
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีลานจอดรถ