กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ

พิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ

30 สิงหาคม 2567

ชื่นชอบ 550

7,143 ผู้เข้าชม

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองทัพบก เป็นหน่วยทหารที่มีความสำคัญยิ่งหน่วยหนึ่งของกองทัพบกไทย มาทุกยุคทุกสมัย ในปี พ.ศ.2537 พลเอกวิมล วงศ์วานิช ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทหารรบพิเศษ จึงได้อนุมัติให้จัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ ขึ้นที่ค่ายวชิราลงกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ

  • เป็นแหล่งรวบรวมประวัติศาสตร์ทางทหาร และวีรกรรมของทหารรบพิเศษที่ได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อปกป้องเอกราชของชาติ
  • เป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติทหารรบพิเศษให้อนุชนรุ่นหลังได้ยึดถือเป็นแบบอย่างของความเสียสละต่อไป

 

การจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ ประกอบด้วย

  • ห้องโถง  จัดแสดงภาพเหตุการณ์ประวัติความเป็นมาภารกิจต่างๆ ของหน่วยรบพิเศษ ตั้งแต่ยุคต้นจนถึงยุคปัจจุบัน และประติมากรรมช้างสามเศียร "เทพเจ้าเอราวัณ" ภายในเศียรช้างบรรจุวัตถุมงคลรุ่นอนุรักษ์ชาติ ดินจาก 24 สมรภูมิการรบของไทย และประดิษฐานพระบรมรูป 9 มหาราชของชาติไทย
  • ห้องแสดงที่ 1 จัดแสดงเรื่องการพัฒนาหน่วยรบพิเศษ  แผนผังที่ตั้งหน่วยรบพิเศษ ภาพในอดีตผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของหน่วยรบพิเศษ เครื่องหมายยศทหารบก  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดต่างๆ เป็นต้น
  • ห้องแสดงที่ 2 เป็นห้องจัดแสดงเกี่ยวกับการฝึก-การศึกษาของหน่วยรบพิเศษ โดยการจำลองหลักสูตรต่างๆ ที่ทหารรบพิเศษจะต้องเข้ารับการฝีกศึกษาในโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ(รร.สพศ.ศสพ.) เช่น จำลองสถานที่ฝึกศึกษาหลักสูตรทางอากาศ อุปกรณ์การฝึก   จำลองการฝึกหลักสูตรจู่โจมภาคที่ตั้ง, ภาคป่า, ภาคทะเล, การข้ามเครื่องกีดขวาง และการไต่หน้าผาจำลอง เป็นต้น
  • ห้องแสดงที่ 3 เป็นห้องจัดแสดงการปฏิบัติการรบในยุทธการต่างๆ โดยแบ่งยุคการจัดแสดงเป็น 4 ยุคได้แก่ ยุคโบราณ, ยุคก่อนเสียงปืนแตก, ยุคต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์ เช่น ยุทธการช่องช้าง ยุทธการเขาค้อ ฯลฯ, ยุคหลังปี พ.ศ.2525 เป็นการปฏิบัติการป้องกันประเทศ
  • ห้องแสดงที่ 4 เป็นห้องจัดแสดงกิจกรรมที่สำคัญของหน่วยรบพิเศษ ประกอบด้วย แสดงกิจกรรมสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยรบพิเศษ รวมทั้งโครงการพระราชดำริที่หน่วยรบพิเศษมีส่วนร่วม ประวัติเมืองลพบุรี ตลอดจนกิจกรรมที่หน่วยรบพิเศษได้มีส่วนร่วมดำเนินการมาในอดีตถึงปัจจุบัน
  • ห้องปฏิบัติการใต้น้ำ จัดแสดงจำลองภาพเหตุการณ์ให้เห็นถึงขีดความสามารถในการปฏิบัติการพิเศษใต้น้ำ
  • ห้องปฏิบัติการใต้ดิน จำลองภาพเหตุการณ์และแผนการทำลายล้างในรูปแบบการปฏิบัติการใต้ดิน เพื่อให้กำลังพลได้ตระหนักถึงอันตรายที่ซ่อนเร้นแฝงตัวในรูปแบบต่างๆ
  • ห้องปฏิบัติการรบในป่า จัดแสดงจำลองภาพเหตุการณ์การรบจริงที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานับประการ เช่น กับระเบิด ระเบิดแสวงเครื่อง หลุมขวาก และแสดงให้เห็นถึงการตระเวนและความเป็นอยู่ในป่า เพื่อเป็นข้อเตือนใจและระลึกถึงกำลังพลในอดีต ที่มีทั้งการสูญเสียและได้รับชัยชนะ

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

การทหาร และ สงคราม

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ฝ่ายกิจการพลเรือน ศูนย์สงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 15000 ตำบลป่าตาล อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000
โทรศัพท์ : 0-3641-1085

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น.

ค่าเข้าชม

สอบถามได้ที่ เบอร์ 0-3641-1085

การเดินทาง

1.โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ไปตามถนนพหลโยธิน เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอพระพุทธบาท เข้าสู่ จังหวัดลพบุรี ระยะทางประมาณ 153 กิโลเมตร 

2.โดยรถประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-ลพบุรี ออกจากสถานีขนส่งจตุจักร(หมอชิต 2) ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

3.โดยรถไฟ มีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) ไปยังจังหวัดลพบุรี ทุกวัน 

4.รถตู้ มีรถตู้สายกรุงเทพฯ-ลพบุรี ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวัน มี 2 คิว คือ

  • สถานีเดินรถโดยสารขนาดเล็ก จตุจักร (คิวรถตู้หมอชิต 2) 

    - หน้าสถานีรถไฟลพบุรี
  • สถานีเดินรถโดยสารขนาดเล็ก จตุจักร (คิวรถตู้หมอชิต 2) 

    - พระปรางค์สามยอด

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีพื้นที่สำหรับจอดรถ

4

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง