กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

17 ตุลาคม 2561

ชื่นชอบ 535

14,434 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

นำเสนอเรื่องราว วิถีชีวิตของชาวจังหวัดสุพรรณบุรี นับตั้งแต่หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงเมืองสุพรรณบุรีในอดีต หลักฐานที่แสดงถึงพัฒนาการของเมืองสุพรรณบุรี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวาราวดี ลพบุรี อยุธยา และรัตนโกสินทร์ เหตุการณ์ยุทธหัตถี กลุ่มชนต่างๆที่อาศัยในจังหวัดสุพรรณบุรี ประวัติบุคคลสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรีในอดีต วรรณกรรมสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี เพลงพื้นบ้านหรือเพลงลูกทุ่ง จนถึงสุพรรณบุรีในวันนี้

          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จัดตั้งขึ้นตามโครงการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำเมืองเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์มานุษยวิทยาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรีและเพื่อสนองแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ได้พระราชทานให้กรมศิลปากรเพิ่มสาขาวิชาการ อื่น ๆ ในการจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

          ลักษณะอาคาร เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ ๒ ชั้น มีพื้นที่ภายในประมาณ ๓,๒๐๐ ตารางเมตร ประกอบด้วย ส่วนสำนักงาน ห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการชั่วคราว ห้องประชุม – สัมมนา ห้องคลังเก็บโบราณวัตถุ ห้องศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้า และส่วนให้บริการ – ประชาสัมพันธ์

          การจัดแสดงนิทรรศการ การจัดแสดงนิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี มีลักษณะของการผสมผสานระหว่างการจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ กับสื่อจัดแสดงประเภทต่าง ๆ เช่นหุ่นจำลอง ระบบโสตทัศนูปกรณ์ ฯลฯ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลินใน เวลาเดียวกัน โดยแบ่งหัวข้อการจัดแสดงเป็นห้องต่าง ๆ ดังนี้

          ห้องบทนำ


          จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรีในอดีต ได้แก่ ข้อความในจารึกหลักต่าง ๆ ที่กล่าวถึงชื่อเมืองสุพรรณบุรี อาทิ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จารึกลานทองสมัยอยุธยา พบที่วัดส่องคบ จังหวัดชัยนาท และหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นต้น

        จัดแสดงพัฒนาการของเมืองสุพรรณบุรี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ กระทั่งเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี สมัยอยุธยา ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ตามลำดับ โดยจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีและโบราณสถานสำคัญต่าง ๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบป้ายคำบรรยายและสื่อระบบโสตทัศนูปกรณ์

          ห้องยุทธหัตถี

       จัดแสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสุพรรณบุรี คือ การกระทำสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระมหาอุปราชา เมื่อ พ.ศ.๒๑๓๕ ที่เกิดขึ้น ณตำบลหนองสาหร่ายปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอดอนเจดีย์ อันเป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเจดีย์ยุทธหัตถีจัดแสดงโดยใช้สื่อระบบโสตทัศนูปกรณ์ ประกอบกับหุ่นจำลองและป้ายคำบรรยาย

          ห้องคนสุพรรณ จัดแสดงประวัติความเป็นมาและศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีกลุ่มชนสำคัญ ๆ ได้แก่ ชาวไทยพื้นบ้าน ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายละว้า ชาวไทยเชื้อสายลาวครั่ง ชาวไทยเชื้อสายลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ โดยใช้สื่อเป็นหุ่นรูปบุคคลเชื้อสายต่าง ๆ ขนาดเท่าจริงประกอบฉากบ้านเรือน และเสียงบรรยายร่วมกับสื่อระบบโสตทัศนูปกรณ์

          ห้องบุคคลสำคัญ

จัดแสดงประวัติบุคคลสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรีในอดีตที่ได้ทำคุณประโยชน์นานัปการแก่จังหวัดสุพรรณบุรี และประเทศชาติ ประกอบด้วย

          สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ( ขุนหลวงพระงั่ว )

          สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ ( ปุ่น ปุณณสิริ )

          พระมงคลเทพมุนี ( หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ )

          เจ้าพระยายมราช ( ปั้น สุขุม )

          พลโทพระยาเฉลิมอากาศ ( สุณี สุวรรณประทีป )

          นายมนตรี ตราโมท

 

 ห้องศาสนศิลป์สุพรรณ

จัดแสดงหลักฐานทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ได้แก่ โบราณศิลปวัตถุจากโบราณสถานสำคัญในจังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ฯลฯโดยเฉพาะหลักฐานประเภทพระพิมพ์ หรือพระเครื่องที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก เช่น พระพิมพ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระพิมพ์วัดพระรูป พระพิมพ์วัดบ้างกร่าง และพระพิมพ์วัดชุมนุมสงฆ์ เป็นต้น

 

ห้องแหล่งเตาเผาบ้านบางปูน

แหล่งเตาเผาบ้านบางปูน เป็นแหล่งเตาผลิตเครื่องปั้นดินเผาอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือราว ๗.๕ กิโลเมตร กระจายอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรีหรือริมแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตกเป็นระยะทางยาวประมาณ ๗ กิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลรั้วใหญ่ และบริเวณบ้านบางปูน บ้านโพธิ์พระยา ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

         จากการขุดค้นทางโบราณคดี ได้พบร่องรอยของเตาเผาที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาโบราณ โครงเตาเป็นเตากูบที่ก่อด้วยดินเหนียวสร้างซ้อนทับในแนวเดียวกัน จำนวน ๑๐ เตา เป็นเตาแบบระบายความร้อนขึ้น ( Crossdraft Kiln) ขนาดโดยเฉลี่ยของเตายาว ๕-๘ เมตร   กว้าง ๒-๓ เมตร ผนังด้านข้างหนาราว ๒๐ เซนติเมตร แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ห้องบรรจุเชื้อเพลิงสำหรับใส่ฟืนด้านหน้า พื้นลาดเอียงประมาณ ๑๐-๑๕ องศา, ห้องวางภาชนะ เป็นส่วนที่มีพื้นที่มากเนื่องจากต้องนำภาชนะที่ต้องการจะเผามาวาง พื้นเตาส่วนนี้ยกสูงขึ้นจากห้องบรรจุเชื้อเพลิงราว ๖๐ เซนติเมตร, ด้านในสุด เป็นปล่องสำหรับระบายควันไฟออก

 

ห้องวรรณกรรมเมืองสุพรรณ


จัดแสดงเรื่องราวของวรรณกรรมสำคัญ สองเรื่อง ที่เกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรี ได้แก่ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่ได้รับการยกย่องจากวรรคดีสโมสรให้เป็นเลิศประเภทกลอนเสภา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและโคลงนิราศสุพรรณซึ่งประพันธ์โดยสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมทั้งสองเรื่องเปรียบเสมือนภาพสะท้อนวิถีชีวิตขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวสุพรรณบุรีในอดีต

 

ห้องเพลงพื้นบ้านสุพรรณ

เพลงพื้นบ้าน

     จัดแสดงโดยใช้หุ่นจำลองประกอบสื่อระบบโสตทัศนูปกรณ์ จำลองการเล่นเพลงพื้นบ้าน ซึ่งนิยมเล่นกันในงานรื่นเริงหรือเทศกาลต่างๆ ได้แก่ เพลงอีแซว และเพลงเรือ โดยมีเนื้อหาของเพลงมักเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของชาวเกษตรกรรม

     จังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ในเขตที่ราบภาคกลาง เป็นท้องทุ่งนาผืนใหญ่ ริมลำน้ำสายใหญ่ คือ แม่น้ำสุพรรณบุรี ทั้งในหน้าน้ำและหน้าแล้งชาวสุพรรณนิยมเล่นเพลงพื้นบ้าน เพื่อหย่อนใจสร้างความบันเทิง ความสามัคคีในหมู่คณะระหว่างการประกอบอาชีพ มักเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกับชาวจังหวัดอื่น ๆ ของภาคกลาง เนื้อหาเพลงจะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวันของชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน และวิถีชีวิตริมแม่น้ำ เพลงพื้นบ้านเหล่านี้มีหลากหลายจังหวะ ทำนอง ทั้งเพลงระบำบ้านไร่ เพลงเหย่ย เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย เพลงลำตัด เพลงเรือ เป็นต้น

เพลงลูกทุ่ง

     จัดแสดงผลงานของศิลปินเพลงลูกทุ่งชาวสุพรรณที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วย ก้าน แก้วสุพรรณ สุรพล สมบัติเจริญ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ศรเพชร ศรสุพรรณ สายัณห์ สัญญา พุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยใช้สื่อระบบโสตทัศนูปกรณ์เป็นตู้เพลง สำหรับกดฟังผลงานเพลงศิลปินท่านต่างๆ ประกอบป้ายคำบรรยาย

 

ห้องสุพรรณบุรีวันนี้

                จังหวัดสุพรรณบุรีตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ภาคกลางทางด้านตะวันตกของประเทศไทย ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่บางส่วนเป็นเนินเขาสลับกับภูเขาสูงมีพื้นที่ประมาณ ๕,๓๕๘.๐๐๘ ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๔๐ ประมาณ ๑๐๗ กิโลเมตร มีประชากร มีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๘๔๔,๕๙๐ คน (สำรวจเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๒) แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๐ อำเภอ  ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี, อำเภอดอนเจดีย์, อำเภอบางปลาม้า, อำเภอสองพี่น้อง, อำเภอศรีประจันต์, อำเภอสามชุก, อำเภอเดิมบางนางบวช, อำเภออู่ทอง, อำเภอด่านช้าง, อำเภอหนองหญ้าไซ

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  สลักจากหินทรายสีเขียว สูงประมาณ ๑๔๘.๕ ซม. พบที่โบราณสถานเนินทางพระในเขตอำเภอสามชุก  ซึ่งเป็นโบราณสถานในศาสนาพุทธนิกายมหายาน สมัยลพบุรี  มีลักษณะทางประติมาณวิทยาที่สำคัญ คือ เป็นประติมากรรมรูปบุรุษ เกล้ามวยผมสูงถักผม ลักษณะที่เรียกว่า "ชฎามกุฎ" มวยผมผายออกตอนบน ส่วนโคนมวยคอด  ปรากฏรูปภาพพระพุทธปางสมาธิ หรือพระอติมาภะอยู่ด้านหน้ามวยผม  มีกรอบไรพระศกทำลายเป็นรูปเม็ดไข่ปลา พระโพธิสัตว์มีพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยมพระเนตยาวรี ลืมพระเนตร   สวมกุณฑลรูปตุ้ม   สวมกรองศอสั้น รูปสามเหลี่ยมและพาหุรัด ม ๔ กร หัตถ์ซ้ายบนถือคัมภีร์  หัตถ์ซ้ายล่างถือหม้อน้ำมนต์  หัตถ์ขวาบนถือพวงลูกประคำ หัตถ์ขวาล่างถือดอกบัว นุ่งผ้าสั้น มีชายผ้าเป็นรูปหางปลา คาดเข็มขัดมี หัวรูปสี่เหลี่ยมประดับลายดอกไม้  ซึ่งลักษณะทางประติมาณวิทยาของพระโพธิสัตว์ดังกล่าว  แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะพื้นเมืองบางประการที่ผสม ผสานอยู่กับศิลปะขอมแบบบายนอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 186/1 ศูนย์ราชการกรมศิลปากร ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000
โทรศัพท์ : 035-535 330 / 035-536 100-1
โทรสาร : 035-535 330 / 035-536 100-1
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/suphanburimuseum
อีเมล : suphanmuseum@gmail.com

วันและเวลาทำการ

วันพุธ-วันอาทิตย์ (ยกวันเว้นวันขึ้นปีใหม่และวันสงกรานต์) เวลา 09.00น.-16.00 น.

ค่าเข้าชม

  • ชาวไทย 20 บาท
  • ชาวต่างประเทศ 100 บาท
  • นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุสามเณรและนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

การเดินทาง

โดยรถยนต์

จากกรุงเทพ  ใช้เส้นทางถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี(ทางหลวงหมายเลข 340) เมื่อถึงตัวเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี ใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 340 (ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท) จนเห็นศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรีด้านซ้ายมือ ให้ตรงไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วกลับรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี อยู่ฝั่งซ้ายมือเยื้องกับศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

ไม่มีข้อมูลสำหรับผู้พิการ

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีพื้นที่สำหรับจอดรถ

3

แบ่งปัน

กิจกรรม

13 ธ.ค. 2567

14 ธ.ค. 2567

13 ธันวาคม 2567
ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “สุพรรณภูมิ กำเนิดสยามประเทศ” วันเสาร์ที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ ถึง ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี   วิทยากรร่วมเสวนา ดังนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยา คนสำคัญของประเทศไทย ร้อยเอก บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี อาจารย์วลัยลักษณ์ ทรงศิริ นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ผู้ดำเนินรายการ (ชมรมนักโบราณคดี(สมัครเล่น)เมืองสุพรรณ) นายปัญชลิต โชติกเสถียร   พบกับบูธหนังสือวิชาการ ทรงคุณค่า จากมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์  และกิจกรรรมร่วมถ่ายภาพคู่กับศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม  เป็นที่ระลึกพร้อมรับลายเซ็นต์บนภาพจากเพจสยามเทศะ   ผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังเสวนา สามารถลงทะเบียนออนไลน์ (รับจำนวนจำกัด)  ได้ที่ https://docs.google.com/.../1FAIpQLSd3VpcIYPw0sK.../viewform   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์: ๐๓๕ ๕๓๕ ๓๓๐, ๐๓๕ ๕๓๖ ๑๐๐ โทรศัพท์: ๐๘๑-๘๓๘-๔๖๗๖ (สมยศ), ๐๘๑-๖๑๔-๗๒๓๗ (ปัญชลิต)

23 ก.ย. 2567

31 ต.ค. 2567

23 กันยายน 2567
Art Activities @ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ขอเชิญน้อง ๆ ร่วมสืบสานประเพณี “แห่หงส์ธงตะขาบ” ประเพณีสำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยรามัญ  ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี   พบกับกิจกรรมระบายสีที่คั่นหนังสือ  ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ณ ห้องกิจกรรมพิเศษชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามข้อมูล โทร. 0 3553 6100 หรือ 0 3553 5330

02 ก.ย. 2567

06 ก.ย. 2567

02 กันยายน 2567
ขอชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567  วันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2567 เวลา 08.00 น. - 12.00 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี   พบกับกิจกรรม ชมนิทรรศการ "ตัวตน คนมอญ สุพรรณบุรี" สัมผัสอัตลักษณ์ชาวมอญบ้านทุ่งเข็น สุพรรณบุรี เสวนา เหลียวหลัง แลหน้า ไทยรามัญสุพรรณบุรี โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ - นางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา - นางสาวนิษฐกานต์ คุณวัชระกิจ วัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี - ผู้แทนชาวมอญชุมชนทุ่งเข็น สุพรรณบุรี ชิมอาหารสำรับมอญ ชมสีสันการแต่งกายของชาวมอญ workshop ธงตะขาบธงที่ใช้ในงานประเพณี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0 3553 5330 หรือ 0 3553 6100

09 เม.ย. 2567

28 เม.ย. 2567

09 เมษายน 2567
ขอเชิญชวนน้อง ๆ และท่านผู้ปกครอง ร่วมกิจกรรม Art Activities ประดิษฐ์ “กังหันสายรุ้ง” ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 น.-15.00 น. ตลอดเดือนเมษายน 67 ณ ห้องกิจกรรมพิเศษ ชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 035-535 330  เปิดบริการวันพุธ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

03 มี.ค. 2567

31 มี.ค. 2567

04 มีนาคม 2567
ชวนร่วมกิจกรรม Art Activities “ตระกร้าจิ๋วจากแก้วกระดาษ” ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10.00 – 15.00 น. (ตลอดเดือนมีนาคม 2567) ณ ห้องกิจกรรมชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี และ อาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วฯ เปิดบริการวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. - 16.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 3553 5330  
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเล่าในจังหวัดสุพรรณบุรี