กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน วัดกุฎีทอง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน วัดกุฎีทอง

30 กรกฎาคม 2561

ชื่นชอบ 475

6,197 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

กลุ่มไทยพวน หรือลาวพวน เป็นอีกกลุ่มชนหนึ่งที่อพยพจากดินแดนลาวตอนบนเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพราะการสงครามในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์หลายครั้งหลายคราว กลุ่มคนพวนถูกกวาดต้อนเข้ามาในไทย และเมื่อนานเข้าก็กระจัดกระจายไปทั้งถิ่นฐานในหลายจังหวัดของประเทศไทย จนกลายเป็น ไทยพวน

 

บางแห่งวัฒนธรรมประเพณีตลอดจนภาษาได้ถูกกลืนกลายไปกับคนพื้นถิ่นหมดแล้ว แต่บางกลุ่มก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น บางกลุ่มก็กำลังรวบรวมองค์ความรู้ที่ยังคงอยู่ในชุมชน เพื่อสืบทอดให้ลูกหลานของตนเองต่อไป เหมือนอย่างเช่นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยพวน วัดกุฎีทอง ต.บางน้ำเชี่ยว อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรีแห่งนี้

 

ความตั้งใจเดิมนั้นเริ่มมาจาก นาวาอากาศเอกเถลิง อินทร์พงศ์พันธุ์ ซึ่งเป็นลูกหลานชาวไทยพวนที่บ้านบางน้ำเชี่ยวมาแต่กำเนิด เห็นว่าวัฒนธรรมประเพณีของไทยพวนเริ่มสูญหายจึงริเริ่มรวบรวมของเก่าจากในชุมชน ทั้งจากการขอบริจาค ขอเจ้าของให้นำมาร่วม ทำเป็นศูนย์วัฒนธรรม รวบรวมข้าวของพื้นเมืองมาจัดแสดง ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคนในชุมชนเพราะเกือบทุกคนก็เป็นลูกหลานชาวไทยพวนเหมือนกัน แม้แต่ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน (พระภาวนาพรหมคุณ)ก็ยังเป็นคนเชื้อสายพวน ทุกฝ่ายในชุมชนมีจิตสำนึกร่วมกันในการจะอนุรักษ์ของโบราณตลอดจนภาษาเอาไว้ให้ลูกหลานในภายหน้าด้วย

 

อาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยพวน จัดแสดงอยู่ที่ศาลาวัดกุฎีทอง ซึ่งเป็นห้องโถงใหญ่ส่วนแรกจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผา จำนวนมาก เป็นพวกไหน้ำปลาเก่า หรือไหเคลือบแบบจีนปากแคบ โอ่งน้ำดินเผา ทุกประเภทจะมีป้ายชื่อติดไว้ เพื่อให้นักเรียนหรือเด็กๆ รุ่นใหม่ที่ยังไม่รู้จักภาชนะหน้าตาแปลกๆ เหล่านี้ได้รู้จักกัน

 

ถัดไปด้านในมีของจำพวกเครื่องจักรสาน ทั้งที่เป็นเครื่องมือการเกษตร เครื่องมือประมง และข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน เช่นกระต่ายขูดมะพร้าว หินบดยา ส่วนนี้มีคำอธิบายภาษาไทยพวนติดอยู่เช่น แอบข้าวเหนียว หรือกระติ๊บข้าวเหนียว เครื่องเซ้อไม้ไผ่ หรือ เครื่องใช้ไม้ไผ่ ที่ต้องติดป้ายคำภาษาไทยพวนคู่กับภาษาไทยนี้ เนื่องจากเด็กๆ ลูกหลานไทยพวนบ้านบางน้ำเชี่ยวในปัจจุบันเริ่มพูดภาษาพวนไม่ได้แล้ว จึงได้เริ่มเกิดการรื้อฟื้นให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ภาษาของบรรพบุรุษ โดยตอนนี้โรงเรียนในชุมชน ก็ได้ทำหลักสูตรภาษาท้องถิ่น ให้เด็กๆ ได้หัดพูดภาษาไทยพวนด้วย

 

ส่วนกลางของห้อง ที่โดดเด่นก็คือเรือไม้แบบต่างๆ ทั้งใหญ่ เล็ก บางลำขุดจากไม้ต้นเดียว และมีพายลงรักปิดทอง เขียนลายสวยงาม ครกตำข้าวทำจากไม้ และสีฝัด ด้านหลังห้องยังมีอุปกรณ์การเกษตรแบบโบราณบางส่วนกองรวมกันอยู่เนื่องจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้โยกย้ายสถานที่มาหลายครั้ง เหตุเพราะสถานที่ยังไม่ลงตัว หลังจากนี้อาจจะมีการย้ายไปยังสถานที่ที่เหมาะสมกว่าอีกครั้ง

 

ด้านหลังของห้องจัดแสดง จำลองเป็นห้องครัวมีเครื่องไม้ใช้สอยในครัวแบบโบราณอีกหลายชิ้นจัดแสดงทั้งหม้อดินเผา อ่าง กระบวยทำจากกะลาแบบต่างๆ ริมฝาผนังแขวนลายผ้าทอแบบโบราณของชาวพวนไว้ด้วย ผ้าผืนเล็กๆใส่กรอบนี้เป็นผ้าห่อคัมภีร์ หรือตุงรูปสัตว์ต่างๆ

 

นอกจากนี้ยังมีเตารีดโบราณ ปิ่นโตสังกะสี และชุดการแต่งกายของชาวไทยพวน ใส่ไว้ในหุ่นให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาได้เห็นตัวอย่าง ผู้หญิงใส่ ผ้าซิ่นสีเขียว เสื้อแขนกระบอกสีแดง ผู้ชายใส่ชุดม่อฮ่อม มีภาพคุณยายแก่ๆ ที่แต่งกายแบบโบราณและหาบของมาทำบุญที่วัดด้วย

 

ในเรื่องของงานบุญประเพณีของไทยพวนที่ชุมชนนี้ยังรักษาไว้ได้เหนียวแน่นคือประเพณีกำฟ้า ที่จะจัดอย่างยิ่งใหญ่ทุกปีในเดือน 3 บุญประเพณีนี้ชาวไทยพวนทุกที่ในประเทศไทยจะจัดในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่บนฟ้า นอกจากนี้ยังมีงานบุญกวนข้าวทิพย์และอีกหลายอย่างหมุนเวียนกันไปทั้งปี หากใครสนใจก็สามารถมาร่วมชมงานบุญประเพณีต่างๆ ได้ที่วัดกุฎีทองแห่งนี้

 

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้แม่จะยังจัดแสดงได้ไม่เต็มที่เพราะต้องย้ายสถานที่หลายครั้ง แต่โดยความตั้งใจของ คณะกรรมการดูแลซึ่งเป็นทั้งอาจารย์ในโรงเรียน ผู้ใหญ่ในชุมชน พระ และปราชญ์ชาวบ้านหลายๆ ท่าน ที่ต้องการให้ลูกหลานของตนไม่ลืมรากเหง้าความเป็นไทยพวน น่าดีใจที่เอกลักษณ์ของชาติพันธุ์เหล่านี้คงจะไม่หายไปตามกาลเวลา

บริหารจัดการ

วัดและชุมชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

วัดกุฎีทอง หมู่ 3 ตำบลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16120
โทรศัพท์ : 036-599 624

วันและเวลาทำการ

เปิดให้บริการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 น. - 15.00 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

1.โดยรถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) เมื่อเข้าเขตอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี (ประมาณกิโลเมตรที่ 73 จากต่างระดับบางปะอิน) ให้ชิดซ้าย สังเกตป้ายวัดกุฎีทอง ให้เลี้ยวซ้ายเข้ามา 200 เมตร ข้ามคลองชลประทาน แล้วตรงมา วัดอยู่ตรงข้ามที่ทำการไปรษณีย์พรหมบุรี

 

2.โดยรถประจำทางและรถตู้ สายกรุงเทพฯ-สิงห์บุรี ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ หมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว

 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

ติดต่อล่วงหน้า

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ

15

แบ่งปัน