กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย

พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย

01 มิถุนายน 2566

ชื่นชอบ 695

34,450 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทยแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย จัดแสดง 3 หัวเรื่อง คือ นิทรรศการหนึ่งศตวรรษภาพยนตร์ไทย หอเกียรติยศ และนิทรรศการขบวนการผลิตภาพยนตร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ที่ใช้ในการถ่ายทำ อุปกรณ์ประกอบฉาก โปสเตอร์ รูปถ่าย ฯลฯ

 

อาคารจัดแสดงได้แนวความคิดมาจาก โรงถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง มาเป็นต้นแบบ เนื่องจากมีแบบที่สวยงาม เรียบง่าย และมีเอกลักษณ์สะดุดตา อีกทั้งยังมีเจตนาให้เป็นอนุสรณ์ถึงโรงถ่ายอันสำคัญเป็นเกียรติภูมิด้านภาพยนตร์ของชาติด้วย

 

เมืองมายา

นิทรรศการกลางแจ้งที่รวมฉากสถานที่ที่เป็นหมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์โลกไว้ อาทิ ร้านถ้ำมอง คิเนโตสโคป, กร็องด์ คาเฟ่, โรงหนังตังค์แดง, ประตูสามยอด, มงคลบริษัท เป็นต้น

 

โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา

โรงหนังชุมชนขนาด 121 ที่นั่ง จัดฉายภาพยนตร์ทั้งที่หอภาพยนตร์อนุรักษ์ไว้และภาพยนตร์จากทั่วดลก รวมทั้งเป็นสถานที่จัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการจัดฉายภาพยนตร์ มีโปรแกรมฉายภาพยนตร์เป็นประจำ

 

โรงถ่ายแบล็ค มารีอา

นิทรรศการกลางแจ้งโรงถ่ายแบล็คมารีอา จำลองโรงถ่ายหนังแห่งแรกของโลก คือ แบล็คมารีอา ของโทมัส อัลวา เอดิสัน เพื่อเป็นวัตถุอนุสรณ์แห่งการกำเนิดภาพยนตร์เมื่อร้อยปีมาแล้ว รอบโรงถ่ายประดับแผ่นจารึกอนุสรณ์นักประดิษฐ์ผู้มีส่วนในการกำเนิดภาพยนตร์ พร้อมให้ผู้มาเยี่ยมชมได้เรียนรู้วิธีการถ่ายหนังโบราณโดยร่วมเป็นผู้แสดงในภาพยนตร์โบราณของหอภาพยนตร์เรื่อง “คนกินกล้วย”

บริหารจัดการ

องค์การมหาชน/องค์กรมหาชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ศิลปะ

แผนที่

Map

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 94 หมู่ 3 ถนนพุทธมณฑล สาย 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ : 02-482-2013
โทรสาร : 02-482 2013-15
เว็บไซต์ : https://www.fapot.or.th/
อีเมล : filmarchivethailand@gmail.com

วันและเวลาทำการ

วันอังคาร - อาทิตย์ 

เวลา 09.30 - 17.30 น.  

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://fapot.or.th/main/travel

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

การเดินทาง

  • แผนที่การเดินทาง หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ถ.พุทธมณฑลสาย 5 ศาลายา https://goo.gl/maps/xu8xeWKpfyRv3wk87
  • รถโดยสารสาธารณะ:

- สาย 515 (4-61) ถึงหน้าหอภาพยนตร์

- สาย 124, 547(4-63), 84ก ลงหน้า แมคโคร ศาลายา

(แล้วเดินหรือนั่งมอเตอร์ไซค์วินต่อมาประมาณ 600 เมตร)

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

ติดต่อเยี่ยมชมหมู่คณะ

วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.30 น. - 17.30 น.

เบอร์โทร 02-482-2013-15 ต่อ 0

อีเมล thaifilmarchive@fapot.org

สิ่งอำนวยความสะดวก

  • มีลานจอดรถ
  • ร้านขายของที่ระลึก
  • ร้านกาแฟ

 

14

แบ่งปัน

กิจกรรม

14 ก.พ. 2567

17 ก.พ. 2567

01 กุมภาพันธ์ 2567
Night @ Maya City มายาราตรี 4 : กุมภา ราตรี มีรัก วันที่ 14-17 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 17.00 – 21.00 น. ณ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)  ถนนพุทธมณฑลสาย 5 ศาลายา รื่นเริงไปกับสีสันความสวยงามของเมืองมายายามค่ำคืน ชมเส้นทางประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยและโลกผ่านนิทรรศการในหอภาพยนตร์ ฟังดนตรีสด ซุ้มอาหาร รวมทั้งร้านขายสินค้าและงานคราฟท์   สอบถามข้อมูล โทร. 02 482 2013 Facebook: https://www.facebook.com/ThaiFilmArchivePage

09 พ.ย. 2566

12 พ.ย. 2566

09 พฤศจิกายน 2566
เสวนาภาพยนตร์ Movies to GO - Border Crossings in Hong Kong Cinema – Thailand วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 14.00 น. ณ โรงภาพยนตร์ศาลาศีนิมา บรรยายเป็นภาษาอังกฤษและไทย  สำรองที่นั่งฟังเสวนาได้ที่ https://fapot.or.th/main/cinema/view/2327   จบการเสวนา เวลา 16.00 น. จัดฉายภาพยนตร์เรื่อง “กตัญญูปกาสิต” หรือ “Flame in Ashes” สำรองที่นั่งชมภาพยนตร์ได้ที่ https://fapot.or.th/main/cinema/view/2271   วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2566  เวลา 13.00 น. เรื่อง “A Forgotten Wife” เวลา 15.30 น. “ดอกไม้กับนายกระจอก” – “An Autumn's Tale” วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 น. เรื่อง “Police Story” - “วิ่งสู้ฟัด” ภาคแรก ของเฉินหลง เวลา 15.30 น. เรื่อง “Once a Thief” – “ตีแสกตะวัน”   ทั้งหมดนี้จัดฉายในฉบับเสียงจีน มีคำบรรยายภาษาอังกฤษและไทย ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชม อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ที่ https://fapot.or.th/main/cinema/program/109

13 มิ.ย. 2566

30 มิ.ย. 2566

02 มิถุนายน 2566
ต้อนรับเดือน Pride Month ชวนทุกท่านมารับชม นิทรรศการ ต้นธารสายรุ้ง: ประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศในหนังไทย  จัดแสดงที่ชั้น 2 อาคารสรรพสาตรศุภิจ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)    เปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 09.30 น. – 17.30 น.  ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชม ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป   แผนที่การเดินทาง ถ.พุทธมณฑลสาย 5 ศาลายา https://goo.gl/maps/xu8xeWKpfyRv3wk87 รถโดยสารสาธารณะ: สาย 515 (4-61) ถึงหน้าหอภาพยนตร์ สาย 124, 547(4-63), 84ก ลงหน้า แมคโคร ศาลายา (แล้วเดินหรือนั่งวิน ประมาณ 600 เมตร)  

02 มิ.ย. 2566

04 มิ.ย. 2566

02 มิถุนายน 2566
เทศกาลภาพยนตร์เงียบ ประเทศไทย (The Silent Film Festival in Thailand) กลับมาสร้างความรื่นรมย์ด้วยหนังเงียบคลาสสิกจากหลากหลายชาติ ประกอบการเล่นดนตรีสด  วันที่ 2 - 4 มิถุนายน 2566 ณ โรงภาพยนตร์ศาลาศีนิมา หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เหมาะกับแฟนหนังเงียบ และหนังสำหรับเด็กและครอบครัว  เพื่อเปิดโลกแห่งประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เงียบ   พบกับ  ภาพยนตร์เรื่องพิเศษสำหรับเทศกาลในปีนี้ คือ Foolish Wives (1922) หนังเงียบเรื่องสำคัญ เช่น - The Kid (1921) ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ ชาร์ลี แชปลิน ฉายในโปรแกรมสำหรับเด็กและครอบครัว (บ่ายวันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน 66) - Peter Pan (1924) โปรแกรมรอบบ่ายสำหรับผู้ชมวัยเด็ก (วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 66) - Beethoven (1927) ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเนื่องในวาระ 100 ปีการเสียชีวิตของ ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน - The Organist at St. Vitus' Cathedral (1929) หนังเงียบจากประเทศเช็ก - Fragment of an Empire (1929) หนังโซเวียตหาดูยากเรื่องสำคัญ - The Brilliant Biograph: Earliest Moving Images of Europe ประเทศเนเธอร์แลนด์ - British Film Institute ประเทศอังกฤษ   สำหรับนักดนตรีประจำเทศกาลปีนี้ ได้แก่ นักเปียโนชาวดัตช์ คือ Maud Nelissen และ Daan van den Hurk นักดนตรีไทยรับเชิญ คือ ธารตะวัน เครืออ่อน ศิลปินอิสระรุ่นใหม่   ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ที่ https://fapot.or.th/main/news/946

26 พ.ค. 2566

28 พ.ค. 2566

26 พฤษภาคม 2566
หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม WORKSHOP เปียโนประกอบภาพยนตร์เงียบ กับ Maud Nelissen และ Daan van den Hurk สองนักดนตรีมืออาชีพจากเนเธอร์แลนด์ที่จะมาสร้างสรรค์เสียงดนตรี ประกอบในเทศกาลภาพยนตร์เงียบ ประเทศไทย ครั้งที่ 7 The Silent Film Festival in Thailand   วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 น. – 16.00 น. ณ โรงภาพยนตร์ศาลาศีนิมา หอภาพยนตร์ ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด โดยวิทยากรจะบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ (ไม่มีล่ามภาษาไทย)  และผู้เข้าร่วมอบรมจะต้องสามารถเล่นเปียโนได้อย่างดี และมีทักษะพื้นฐานด้านการประพันธ์เพลง และการด้นสด (Improvisation)   ปิดรับสมัครวันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2566 นี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและกรอกใบสมัครได้ที่ https://fapot.or.th/main/news/948
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง