กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์รถไฟไทย

พิพิธภัณฑ์รถไฟไทย

11 กันยายน 2566

ชื่นชอบ 186

30,462 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

 

เมื่อปี พ.ศ.2558 นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟฯขณะนั้น มีคำสั่งแต่งตั้ง ผศ.พิเศษ ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ เป็นประธานกรรมการจัดหารายได้เพื่อก่อตั้ง "พิพิธภัณฑ์รถไฟไทย" ได้ปรับปรุงอาคารมุขหน้าของสถานีรถไฟกรุงเทพด้านทิศตะวันตก ให้เป็น สำนักงานมูลนิธิรถไฟไทยและพิพิธภัณฑ์รถไฟไทย  โดยมีการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2558 หลังจากนั้น จึงได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2558 เป็นต้นมา โดยมี ผศ.พิเศษ ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ เป็นประธานมูลนิธิและอดีตผู้ว่าการรถไฟฯ 2 ท่าน คือ ศาสตราจารย์หิรัญ รดีศรี และ นายประภัสร์ จงสงวน พร้อมทั้งนายรักเกียรติ เลิศอุตสาหกูล เป็นที่ปรึกษามูลนิธิรถไฟไทย

 

มูลนิธิรถไฟไทย มีวัตถุประสงค์หลักในการจัดหาทุนเพื่อก่อตั้งและดำเนินกิจการพิพิธภัณฑ์รถไฟไทย ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาแลกเปลี่ยน ค้นคว้า วิจัย การวิวัฒนาการและพัฒนากิจการขนส่งระบบทางรางตลอดจนสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการนำวิทยาการขนส่งระบบทางรางเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งให้ทุนและรางวัลสำหรับผู้ที่สนใจในการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาการขนส่งระบบทางราง

 

พิพิธภัณฑ์รถไฟไทย เปิดให้ผู้สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เข้ามาเยี่ยมชมและศึกษาค้นคว้า มีพื้นที่ 2 ชั้น คือ

  • ชั้นบน จัดแสดงพระเก้าอี้ในสมัยรัชกาลที่ 7 , ภาพโปสเตอร์เตือนระวังภัยในการเดินรถไฟ และมีมุมจำลองบรรยากาศเหมือนอยู่บนรถไฟ ให้ผู้เข้าชมได้ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก
  • ชั้นล่าง จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในกิจการเดินรถไฟและกิจการโรงแรมรถไฟ ซึ่งเป็นของเก่า ทั้งที่มีการใช้งานและบางส่วนเลิกใช้งานแล้ว เช่น จานและโถกระเบื้องในสมัยรัชการลที่ 5 , เครื่องตราทางสะดวก, ลูกตราและห่วงตราทางสะดวก, ตั๋วรถไฟแข็ง, อุปกรณ์ในการประทับวันที่ลงบนตั๋ว, โคมตะเกียงให้สัญญาน, เครื่องส่งโทรเลข, เครื่องพิมพ์ดีด, นาฬิกาไขลาน, โทรศัพท์แบบหมุน , ตลอดจนม้านั่งที่ทำจากไม้หมอนปลดระวาง เป็นต้น
  • ส่วนจำหน่ายของที่ระลึก ให้กับผู้ที่สนใจในการสะสมหรือมอบเป็นของขวัญของฝากในวาระต่างๆ เช่น กรอบรูป ตั๋วรถไฟ เสื้อยืด หมวก กระเป๋า แม่เหล็กติดตู้เย็น กล่องใส่นามบัตร พวงกุญแจ ที่ทับกระดาษ และอื่นๆอีกมากมาย

 

บริหารจัดการ

มูลนิธิ/มูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

  • ตั๋วรถไฟแข็ง ที่ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว
  • อุปกรณ์ในการประทับวันที่ลงบนตั๋ว
  • โคมตะเกียงให้สัญญาน
  • ม้านั่งที่ทำจากไม้หมอนปลดระวาง

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

สถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) เลขที่ 1 ถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ : 02-220 4195 / 082-219 2194
เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/trftrm/

วันและเวลาทำการ

เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น.
(ปิดวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

การเดินทาง

  • รถไฟฟ้า MRTสถานีหัวลำโพง
  • รถโดยสารประจำทางสาย 1, 4, 7, 21, 29, 34, 40, 46, 53, 73, 75, 85, 109, 113, 501, 507, 529, 542

 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

21

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง