กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   ห้องไทยศึกษานิทัศน์และวัฒนธรรมอาเซียน

ห้องไทยศึกษานิทัศน์และวัฒนธรรมอาเซียน

18 มิถุนายน 2562

ชื่นชอบ 648

6,729 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีภารกิจหลักสำคัญประการหนึ่งคือ ภารกิจด้านทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น ในการบริหารจัดการให้เป็นไปตามภารกิจด้านทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชน สังคม ระดับท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระดับชาติ และระดับนานาชาติ 

ห้องไทยศึกษานิทัศน์และวัฒนธรรมอาเซียน (เดิมชื่อห้องไทยศึกษานิทัศน์) เริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นห้องปฏิบัติการทางมานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) การสะสมรวบรวมและจัดแสดงวัสดุทางวัฒนธรรมทั้งหมด เป็นความสนใจทางวิชาการและความประทับใจ ส่วนตัวของ อาจารย์สุริยา สมุทคุปติ์ ที่มีต่อวัฒนธรรมพื้นบ้านของอีสาน มีการเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการด้านศิลปะและวัฒนธรรม และภูมิปัญญา วัฒนธรรมอาเซียน รวมถึงการศึกษาวิจัยเพื่อการเรียนการสอนวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจต่อวิธีคิดของคนพื้นถิ่นให้ความสำคัญกับคนท้องถิ่นในฐานะที่เขาเป็นนักประดิษฐ์เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับระบบนิเวศและระบบวัฒนธรรม วิธีคิดเหล่านี้เป็นต้นแบบให้กับนักประดิษฐ์รุ่นใหม่สำหรับการพัฒนธรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อสังคมในอนาคตและเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัย 

 "ห้องปฏิบัติการทางมานุษยวิทยา คือ ห้องเรียนรูปแบบหนึ่งผมนำวัสดุต่าง ๆ ที่ชาวชนบทอีสานใช้ในแต่ละช่วงฤดูกาลมาประกอบการเรียนรการสอน โดยชี้ให้นักศึกษาเห็นว่า ถ้าเราเข้าใจคน พฤติกรรมและความคิดของคนโดยเฉพาะคนทำวัสดุอุปกรณ์ทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ทำไมเขาต้องใช้ ต้องทำ ต้องออกแบบรูปทรงอย่างนั้น วัตถุประสงค์ของเขาในการใช้งาน ประกายความคิดเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใจคน ความคิดคน นั้นคือเราเข้าใจเทคโนโลยีจากความเข้าใจวัฒนธรรมที่เขาคิดและปรับเปลี่ยนมา" (สุริยา สมุทคุปติ์,๒๕๕๘:๑๑๙)

การจัดแสดงนิทรรศการถาวรด้วยกัน ๘ โซน ประกอบด้วย 

"ที่นี่อีสาน หรือ หม่องหนี่อีสาน, เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน, เฮ็ดเฮือนเฮ็ดชาน, ห้องพระยากำธรพายัพทิศ, นุ่งฝ้ายห่มไหม, สังคมวัฒนธรรมอาเซียน, บันเทิงเริงเล่น หรือ หม่วนซืนโฮแซว, ทำบุญไหว้ผี หรือ เฮ็ดบุญทำทาน"

และให้ความสำคัญต่อการจัดนิทรรศการหมุนเวียน ๔ ชุด ตามหัวข้อการศึกษาวิจัย เช่น นิทรรศการว่าวไทยว่ายฟ้า นิทรรศการภูมิปัญญา และเทคโนโลยีในวัฒนธรรมข้าว นิทรรศการกับดักจักสาน และนิทรรศการระหัดวิดน้ำลำตะคอง เป็นต้น 

 

 

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

ห้องจัดแสดงวัสดุทางวัฒนธรรมอีสาน และวัฒนธรรมอาเซียน กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทางวัฒนธรรม สนับสนุนการเรียนการสอนในรายวิชาสาชาศึกษาทั่วไป กับภารกิจพันธกิจด้านงานทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์สื่อเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมภายในนิทรรศการถาวร ชุด โปรแกรมประยุกต์เทคโนโลยีโฮโลแกรม เรื่อง "ระหัดวิดน้ำลำตะคอง", เทคโนโลยีการพิมพ์ ๓ มิติ หมู่บ้านและจำลองวิถีชีวิตในวัฒนธรรมข้าว และชาวนาด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented reality) เพื่อแสดงเฮือนอีสาน ยุ้งข้าวโบราณ รวมถึงความเชื่อในวัฒนธรรมข้าวในรูปแบบดิจิทัล 

 

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

สาขาวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ : 044-224856 , 044-224207
โทรสาร : 044-224205
เว็บไซต์ : http://soctech.sut.ac.th/ge/genew/thai.php

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา  8.30-16.30 น.(11.30 – 12.30 พักเที่ยง) 

หยุดวันนขัตฤกษ์

ค่าเข้าชม

30 บาท สามารถเข้าชมแหล่งเรียนรู้ได้ 4 แหล่งเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัย 

การเดินทาง

โดยทางรถยนต์

ท่านสามารถเดินทางได้ 2 เส้นทางคือ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน)

แยกเข้าทาง หลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ที่สระบุรี ขับตามเส้นทางจนถึงสะพานต่างระดับ 

บริเวณสามแยกปักธงชัย (ก่อนถึงตัวเมืองนครราชสีมา ประมาณ 5 กม.) จากนั้นขึ้นสะพานตรงไป

ยัง อ.ปักธงชัย อีกประมาณ 7 กม. ทางเข้ามหาวิทยาลัยจะอยู่ทางด้านขวามือ รวมระยะทาง

259 กิโลเมตร อีกเส้นทาง คือ จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านมีนบุรี ฉะเชิงเทรา

พนมสารคาม กบินทร์บุรี ปักธงชัยมายังนครราชสีมา ก่อนถึงนครราชสีมาประมาณ 20 กม.

จะมีทางเข้ามหาวิทยาลัยอยู่ทางด้านซ้ายมือรวมระยะทาง 273 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง

ประมาณ 3 ชั่วโมง ...ท่านสามารถสอบถามเส้นทางได้ที่ส่วนประชาสัมพันธ์ โทร.

0-4422-4080-3

 

ทางรถโดยสารประจำทาง 

บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งตะวันออกเฉียงเหนือ ไปนครราชสีมาทุกวัน รายละเอียดสอบถาม โทร. 0-2272-5761-5 (รถธรรมดา) และโทร.0-2272-5241(ปรับอากาศ) ท่านสามารถลงรถได้ที่สามแยกปักธงชัย และขึ้นรถเมล์ สาย มทส.เข้ามายัง มทส (มีรถเมล์ 2 สายคือ สาย มทส - เทคโนโลยีราชมงคล สีเหลือง ขาว 

และสายหัวทะเล -มทส. สีม่วงขาว ราคาค่าโดยสาร 15 บาท)

 

ทางรถไฟ 

มีรถไฟออกจาสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ไปนครราชสีมาทุกวัน รายละเอียดสอบถามที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0-2223-7010. 0-2223-7020

 

ทางเครื่องบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด มีเที่ยวบินไปจังหวัดนครราชสีมาทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ โทร. 0-2280-0070, 0-2280-0080

 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม 

เรียนคณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เลขที่ 111 ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง

จังหวัดนครราชสีมา 30000

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

3

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง