แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับการพัฒนามาจาก "พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม" ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2512 โดยคณะอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน(วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสนเดิม) และนิสิตอีกจำนวนหนึ่ง โดย ดร.บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครูและอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินโครงการ
พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนไม่สามารถขยายออกไปได้อีก เนื่องจากตัวอาคารมีขนาดจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการนี้โดยตรง เพื่อเป็นการขยายกิจการของพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าเดิม มหาวิทยาลัยโดยการนำของ ดร.ทวี หอมชง และคณะ ได้จัดทำโครงการขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2523 ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าในการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยเริ่มก่อสร้างในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ณ บริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ในเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2525 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2527
โดยมีส่วนบริการ 3 ส่วน ได้แก่
1. สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม
เป็นส่วนที่จัดแสดงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในเขตน่านน้ำของไทย จัดแสดงในตู้โดยมีการจัดสภาพใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด แต่ละตู้จะมีป้ายเพื่อบ่งบอกชนิดสัตว์ทะเลที่อยู่ในตู้ทั้งชื่อสามัญและชื่อทางวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 6 หัวข้อใหญ่ ได้แก่
- ชีวิตชายฝั่งทะเล
- สีสันแห่งท้องทะเล
- ครัวของโลก
- แปลก... สวยซ่อนพิษ
- ลานเรียนรู้ชาวเล
- ยักษ์ใหญ่ใต้สมุทร
2. พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล
- นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง
- นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล
- นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล
- นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์
- ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย
3. ศูนย์เรียนรู้โลกใต้ทะเลบางแสน
เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งใหม่ที่เชื่อมต่อกับอาคารสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มเดิมของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ภายในประกอบด้วย ส่วนจัดแสดงที่เป็นตู้แสดงพันธุ์สัตว์ทะเล จำนวน 17 ตู้ ซึ่งเป็นตู้จัดแสดงขนาดใหญ่ จำนวน 3 ตู้ประกอบด้วย ตู้จัดแสดงขนาดใหญ่ (Big Tank) มีความจุน้ำ 4,700,000 ลิตร นอกจากนี้ ยังมีตู้ทรงกระบอก (Cylinder Tank) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เมตรเพื่อจัดแสดงพันุธ์ปลาทะเลที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง
- โซนที่ 1 ท่องสมุทร อยู่บริเวณน้ำพุปลากระเบนด้านหน้าอาคาร เป็นจุดเช็คอินก่อนเข้าสู่ตัวอาคารที่พลาดไม่ได้ เปรียบเสมือนการเดินตามรอยฝูงกระเบนเข้าสู่อะควอเรียม
- โซนที่ 2 มาหาสมุทร
- โซนที่ 3 เสียงเพรียกจากทะเล : ห้องเธียร์เตอร์ขนาด 44 ที่นั่ง สำหรับชมภาพยนตร์สั้นเกี่ยวกับทะเล เปรียบเสมือนห้องเรียนแห่งโลกใต้ทะเล (ยังไม่เปิดใช้งาน)
- โซนที่ 4 ลัดเลาะเลียบหาด
- โซนที่ 5 แสงแห่งท้องทะเล
- โซนที่ 6 อัญมณีแห่งมหาสมุทร
- โซนที่ 7 สารพันปลาฝูง
- โซนที่ 8 มหัศจรรย์สัตว์พิเศษ
- โซนที่ 9 อัศจรรย์โลกสีคราม
- โซนที่ 10 ฟอสซิลมีชีวิต
- โซนที่ 11 สาร (รักษ์) จากสมุทร เป็นการ “เปิดสมุทรบันทึก” สัตว์ทะเลที่สูญพันธุ์ และที่กำลังจะสูญพันธุ์ รวมทั้งปัญหา สาเหตุที่ส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของสัตว์เหล่านี้ รวมถึงแนวทางที่จะร่วมกันอนุรักษ์
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
ปลาสับปะรด มีถิ่นกำเนิดและที่อาศัยอยู่ในบริเวณเขตร้อนของมหาสมุทรอินโดแปซิฟิกรวมถึงชายฝั่งของประเทศญี่ปุ่นและออสเตรเลีย
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 038-391 672, 062-713 1116
โทรสาร : 038-391 674
เว็บไซต์ : http://www.bims.buu.ac.th/
อีเมล : nipa@buu.ac.th / supapom@buu.ac.th
ค่าเข้าชม
- เด็ก 40 บาท
- ผู้ใหญ่ 80 บาท
เข้าชมฟรี สำหรับ
- เด็กที่มีส่วนสูงต่ำกว่า 90 ซ.ม.
- ผู้มีอายุเกิน 60 ปี, พระภิกษุ และผู้มีความผิดปกติทางร่างกาย(แสดงบัตร)
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
การเข้าชมเป็นหมู่คณะ (20 คนขึ้นไป)
จะได้รับส่วนลดในราคา เด็ก 30 บาท และ ผู้ใหญ่ 70 บาท
(โดยทำหนังสือขอเข้าชมล่วงหน้า จะได้รับส่วนลดในราคาพิเศษ)
1. การทำหนังสือขอเข้าชม เพื่อได้รับส่วนลดในราคาพิเศษ โดยทำหนังสือจากหน่วยงานต้นสังกัด
ตัวอย่างหนังสือขอเข้าชมในราคาพิเศษ
2. การส่งเอกสาร จอง และ ขอเข้าชม ในราคาพิเศษ
- ส่ง E-mail แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ที่ E-mail : pr.bims@buu.ac.th
- ส่ง FAX แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยแจ้งการเข้าชมถึง
ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ส่งที่หมายเลข FAX 038-391 674
- ส่งไปรษณีย์ แจ้งล่วงอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยส่งหนังสือเข้าชม
เรียน ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ที่อยู่ : สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
เลขที่ 169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20131
3. การชำระเงิน
ชำระในวันที่เข้าชม และรับเอกสารการจ่ายเงิน โดยติดต่อห้องประชาสัมพันธ์
เพื่อรับเอกสารและชำระเงินที่ห้องจำหน่ายบัตรเข้าชม
- สามารถชำระด้วยเงินสด
- สามารถชำระผ่าน QR CODE
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีลานจอดรถ