กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย

พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย

27 กรกฎาคม 2561

ชื่นชอบ 498

11,188 ผู้เข้าชม

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

          พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย ริเริ่มมาจากประธานมูลนิธิพัฒนาศักยภาพคน คุณพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์ อดีต รมช.คมนาคม แม้ท่านจะเข้าวัยเกษียณแล้ว แต่ก็ยังคงไม่หยุดคิดสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคม เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2542 ที่ดินว่างเปล่าบนพื้นที่ ต.บางกระเจ้า อ.พระประแดง ได้ถูกพัฒนาขึ้นให้เป็น Life Learning Center ที่ต้องการให้มีพิพิธภัณฑ์ที่ให้ความรู้และเปิดโลกทัศน์ไปด้วยในตัว ซึ่งได้รับความร่วมมือระหว่างบริษัท สวนบางกระเจ้า จำกัด ร่วมกับมูลนิธิฯ เพื่อเป็นสถานที่ของการร่วมมือร่วมใจความมีสมานฉันท์ของชุมชน สำหรับสร้างความแข็งแรงด้วยการเรียนรู้ รวมถึงโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนโดยการเพาะเลี้ยงเพื่อส่งออก

          ส่วนจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ คือ

          บ้านรักรู้ มีห้องฉายวิดีโอเพื่อให้ผู้เข้าชมหรือกลุ่มนักเรียนได้รับความรู้พื้นฐานกันก่อน มีนิทรรศการเล่าเกี่ยวกับชีววิทยาของปลากัด ลักษณะของปลากัดสายพันธุ์ต่างๆ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าปลากัดจีนนั้นนำเข้ามาจากประเทศจีน แต่จริงๆ แล้วเป็นการผสมระหว่างปลากัดหม้อและปลากัดป่าของไทยซึ่งทั้งสองสายพันธุ์เป็นพันธุ์ดั้งเดิม แต่สีสันไม่สวยและตัวเล็ก เมื่อผสมกันทำให้เกิดปลากัดสายพันธุ์ใหม่คือปลากัดจีน ที่มีหางสวยงามเหมือนพู่กันจีน จึงเรียกกันว่าปลากัดจีนนับแต่นั้นมา สมัยโบราณการเลี้ยงปลากัดและกัดปลาแข่งขัน เป็นวิถีชีวิตของชนชั้นไพร่ในประเทศไทย ดังคำที่ว่า “นายตีไก่ ไพร่กัดปลา” เพราะในสมัยโบราณ เมื่อชาวบ้านว่างเว้นจากการเพาะปลูกก็จะหางานอดิเรกทำ และการเลี้ยงปลากัดนั้นสามารถฝึกสมาธิและนิสัยความโอบอ้อมอารีย์ให้กับเด็กๆ ได้อย่างไม่รู้ตัว เพราะการเลี้ยงปลาสักตัวหนึ่งให้สวยงามและแข็งแรงนั้น ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี

          หอโลกหอธรรม เป็นอาคารทรงไทยสองหลัง ชั้นบนตรงกลางมีลานพระพุทธรูปปางลีลา ส่วนอาคารด้านขวามีรูปปั้นขนาดเล็กของวีรชนไทย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชฯ ด้านซ้ายคือพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งต่อสู่เพื่อกอบกู้บ้านเมือง เปรียบเสมือนปลากัดของไทยที่ต่อสู้เพื่ออาณาเขตของตน และปกป้องตนเอง
ใต้ถุนอาคารทั้งสองมีตู้ปลาแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดและปลากัด อาคารด้านซ้าย มีปลากัดป่า และปลากัดหม้อสายพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งสีสันไม่สวยงามและตัวเล็ก แต่มีข้อดีคือกัดเก่ง และปราดเปรียว มีปลาน้ำจืด  เช่น ปลาแรด ปลากระแห ปลาตะโกก ปลากด ปลาแขยง ปลาปีกไก่ ปลาเสือตอ ปลาซิวควาย และปลาซิวอ้าว ส่วนอาคารด้านขวาแสดงสายพันธุ์ปลากัดที่พัฒนาแล้ว คือปลากัดหางพระจันทร์เสี้ยว ส่วนปลาน้ำจืดที่แสดงมี ปลากราย ปลานิล ปลากระทิง ปลาหมูอารีย์

          เส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีนิทรรศการอยู่ริมข้างทางเดินเข้าสวน บรรยากาศร่มรื่นตลอดทาง นิทรรศการแรกเล่าถึงความเป็นมาของกรุงเทพฯ และพื้นที่กระเพาะหมู อันเกิดมาจากสายน้ำเจ้าพระยา  ป้ายที่สองอธิบายเรื่องพื้นที่สีเขียวปอดของคนกรุงเทพฯ ของบริเวณพื้นที่กระเพาะหมูแห่งนี้ ป้ายถัดมาเป็นเรื่องประเพณีเกี่ยวกับน้ำของไทย เช่นสงกรานต์ รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ ตลอดจนลอยกระทง  และเกี่ยวเนื่องกับนิทรรศการถัดมาคือ การเสด็จทอดพระกฐินทางชลมารค ขบวนเรือพระราชพิธีอันสวยงามของไทย ถัดมาเป็นเรื่องราวของหมู่บ้านทรงคนอง ซึ่งเป็นชนชาวมอญ ที่ยังคงพยายามสืบสานเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีของตนเอาไว้

          ลานคนกล้าคนกล้าในที่นี้ก็คือนักวิทยาศาสตร์เอกของโลกที่กล้าที่จะทดลอง และค้นพบอะไรใหม่ๆ ทำให้โลกใบนี้พัฒนาไปอีกขั้น บริเวณลานก็จะมีรูปปั้นครึ่งตัวของบรรดานักวิทยาศาสตร์เช่น กาลิเลโอ, หลุยส์ ปลาสเตอร์, ชาร์ล ดาวิน, เซอร์ไอแซก นิวตัน และที่ขาดไม่ได้คือพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ต่อจากนั้นผู้ชมสามารถเดินไปชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาจากฝั่งบางกระเจ้า มองไปฝั่งตรงข้ามก็จะเห็นเรือสินค้าและ วัดคลองเตย
ซึ่งแต่ละส่วนก็จะสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับปลากัดไทย และความเป็นพื้นบ้านพื้นถิ่นเอาไว้มากมาย

บริหารจัดการ

เอกชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

ปลากัดนานาชนิด

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

18 หมู่ 3 ซอยเพชรหึงษ์ 33 ตำบลบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130
โทรศัพท์ : 086-405 3105 / 081-861 3542
เว็บไซต์ : http://www.fightingfishgallery.com/

วันและเวลาทำการ

เสาร์-อาทิตย์ 10.00-17.00 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

การเดินทาง

โดยทางรถยนต์  
          หากลงทางด่วนถนนสุขสวัสดิ์เลี้ยวซ้ายเข้าถนนนครเขื่อนขันธ์ (หรือเข้าถนนวงแหวนอุตสาหกรรมแต่ไม่ต้องขึ้นสะพานภูมิพล  เลี้ยวขวาที่ถนนพระราชวิริยาภรณ์แล้วซ้ายอีกทีก็ได้) ตรงมาจนสุดจะถูกบังคับเลี้ยวซ้ายเพราะข้างหน้าคือวันเวย์ ก็จะเข้าสู่ถนนเพชรหึงษ์ ตรงมาข้ามสะพาน อีกประมาณ 6 กิโลให้เลี้ยวซ้ายเข้า ซ.เพชรหึงษ์ 33 หรือ ซ. วัดราษฏร์รังสรรค์ จะเป็นถนนเล็กๆซอกซอย ระวังรถสวน ตรงผ่านสวนศรีนครเขื่อนขันธ์อีก 200 เมตร จะเห็นซอยให้เลี้ยวขวาตามป้ายก็จะถึงพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย

โดยทางเรือ    
          จากท่าเรือคลองเตย เข้าประตู 1 สุนทรโกษา จอดรถที่ลานจอดกรมศุลกากรฝ่ายส่งออก ข้ามเรือที่ท่าเรือวัดคลองเตยนอก (เจ๊สมศรี) มีเรือใหญ่ตั้งแต่เช้ามืดถึงเก้าโมงเช้า เรือจะวิ่งส่งสามจุดเป็นสามเหลี่ยม หากเลยเก้าโมงเช้าจะมีเรือหางยาววิ่งส่งตลอดจนถึงราวสามทุ่มครึ่ง บอกว่ามาท่าเรือกำนันขาว เมื่อข้ามมาแล้วเดินหรือนั่งวินอีกราว 400 เมตรก็ถึงพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย

โดยรถจักรยาน 
           จากแผนที่ของการท่องเที่ยวฯ นักปั่นจักรยานนิยมใช้ทางซอยเพชรหึงษ์ 57 หรือ เส้นทางวัดราษฏร์รังสรรค์ ทางผ่านหน้าสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ ก็ได้

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีพื้นที่สำหรับจอดรถ

4

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง