แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑ์ภายใต้การกำกับดูแลของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการออกแบบ ตกแต่งภายในแบบร่วมสมัย ผสมผสานกับเอกลักษณ์ล้านนา เพื่อให้สอดคล้องกับการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และการใช้เงินตราล้านนา โดยนำเสนอผ่านภาพวาด วีดิโอ แอนิเมชั่น และเกม ควบคู่กับการจัดแสดงเงินตราประเภทต่าง ๆ ที่เคยใช้ในดินแดนล้านนาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
นิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย
- นิทรรศการถาวร อาคารบ้านทิพวรรณ ชั้น 1
จัดแสดงประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งอาณาจักรล้านนา การก่อตั้งเมืองเชียงใหม่ และประวัติ ของอาคารจากบ้านทิพวรรณสู่พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่
- นิทรรศการถาวร อาคารบ้านทิพวรรณ ชั้น 2
นิทรรศการ “วิวัฒนาการเงินตราไทย” จัดแสดงเงินตราโบราณตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนัน – ทวารวดีอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย ไปจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รวมถึงเงินตรานานาชาติที่แพร่หลายเข้ามา ผ่านการค้ากับต่างชาติ นอกจากนี้ยังนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และการค้า จากสมัยอาณาจักรล้านนาจนถึงสมัยหลังการสร้างเส้นทางรถไฟสายเหนือ ด้วยสื่อจัดแสดงที่ทันสมัย ทั้งวีดีทัศน์ ที่ฉายร่วมกับเทคนิค projection mapping ภาพยนตร์แอนิเมชั่น และเกมระบบสัมผัส (Touch Screen)
อุโมงค์ทางเชื่อมระหว่างอาคารบ้านทิพวรรณ ไปยังอาคารอเนกประสงค์ เป็นเส้นทางที่จะนำผู้เข้าชมร่วมไขปริศนาเกี่ยวกับเรื่องราวรอบด้านของ “เหรียญ”
- นิทรรศการถาวร อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 2
เรียนรู้เรื่องราวความสำคัญของเหรียญกับชีวิตประจำวัน พัฒนาการเงินตราไทย ขั้นตอนการผลิตเหรียญกษาปณ์ ประเภทของเหรียญ และความเชื่อในแง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับเหรียญ ความสำคัญของเหรียญ ในชีวิตประจำวันและแนวโน้มในอนาคต ผ่านเทคโนโลยีมัลติมีเดียทันสมัยหลากหลายรูปแบบ อาทิ เกมผลิตเหรียญกษาปณ์ผ่านจอระบบสัมผัส (Touch Screen) ชมเหรียญประเภทต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยี AR-Code (Augmented Reality) นอกจากนี้ยังมีตู้แลกเหรียญที่ระลึกประทับตราสัญลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ให้ผู้เข้าชมได้นำกลับไปเป็นที่ระลึกอีกด้วย
- นิทรรศการหมุนเวียน อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 1
นิทรรศการ “ลวดลายบนเงินตราล้านนา” ลวดลายสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนเงินตราล้านนา สะท้อนความหมายที่แตกต่างกันออกไป เช่น ลวดลายเกี่ยวกับวิถีชีวิต เอกลักษณ์และความรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา ลวดลายเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา และลวดลายเกี่ยวกับธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ จัดแสดงร่วมกับงานหัตถกรรมภาคเหนือ อาทิ เครื่องเงิน ผ้าทอ และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่มีการใช้ลวดลายสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการประดับตกแต่ง อันแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์และความหมายที่สืบทอดมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ซึ่งพื้นที่แห่งนี้ยังได้รับการออกแบบสำหรับให้บริการรองรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ต่าง ๆ สำหรับผู้ที่สนใจอีกด้วย
- ห้องสมุด ให้บริการสารสนเทศเกี่ยวข้องกับเหรียญกษาปณ์และเงินตราไทยในอดีตถึงปัจจุบัน รวมถึงข้อมูลองค์ความรู้ทั่วไปด้านต่าง ๆ
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
- เงินตราโบราณตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนันถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และเงินตราโบราณนานาชาติ
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึก ที่กรมธนารักษ์จัดทำขึ้นในวโรกาสและโอกาสสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และหน่วยงานต่าง ๆ
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 0 5322 4237
เว็บไซต์ : http://trdmuseumchiangmai.treasury.go.th
อีเมล : treasurymuseum.cnx@gmail.com
วันและเวลาทำการ
เข้าชมนิทรรศการ
> วันอังคาร - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. (ปิดเวลา 12.00 น. - 13.00 น.)
> วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น. (ปิดเวลา 12.00 น. - 13.00 น.)
**หยุดทุกวันจันทร์ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์และวันหยุดที่ประกาศปิด
ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหรียญ
> วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. (ปิดเวลา 12.00 น. - 13.00 น.)
> วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น. (ปิดเวลา 12.00 น. - 13.00 น.)
**หยุดเทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์และวันหยุดที่ประกาศปิด
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 5322 4237
ในวันและเวลาราชการ**
ค่าเข้าชม
เข้าชมฟรี
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ หรือ ขอเข้าถ่ายทำรายการ
กรุณาทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันทำการ
(โทรประสานงานล่วงหน้าก่อนทำหนังสือได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 5322 4237 ในวันและเวลาราชการ)
ข้อมูลสำหรับผู้พิการ
มีอักษรเบรลล์ ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ
สิ่งอำนวยความสะดวก
- พื้นที่จอดรถ
- ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก และร้านกาแฟ
- รถเข็น และทางลาดสำหรับรถเข็น
- ทางเดินสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น
- ลิฟต์สำหรับผู้พิการ
- พื้นที่นั่งพักผ่อน