กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์สัมผัส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

พิพิธภัณฑ์สัมผัส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

29 กรกฎาคม 2560

ชื่นชอบ 516

6,808 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2556 สร้างขึ้นจากความร่วมมือกันของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2556 

 

พิพิธภัณฑ์นี้มีลักษณะเฉพาะตัว เพราะที่ห้องนี้ไม่ว่าคนตาดี หรือตาบอด จะได้ชมนิทรรศการด้วยการ “สัมผัส” อย่างเท่าเทียมกัน ผู้บกพร่องทางการเห็นจะรับรู้ได้ถึงพระสิริโฉมอันงดงามของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผ่านเหรียญเซเรสจำลอง พร้อมฟังบทบรรยายประกอบดนตรีสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระองค์ที่ปรากฏแก่ชาวโลก

 

การเข้าชมห้องจัดแสดงภายใน เจ้าหน้าที่จะจัดให้เข้าชมรอบละ 2-4 คน แบ่งออกเป็น 2 สาย เพื่อให้แต่ละคนได้เรียนรู้ในฐานต่างๆ ตามเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งการเข้าชมจะใช้เวลารอบละประมาณ 40 นาที ทุกคนจะได้รับหูฟังสำหรับฟังคำบรรยายตามฐานต่างๆ ที่จะเล่นโดยอัตโนมัติ มีคำแนะนำต่าง ๆ ในการเข้าชม มีการกำหนดเวลาแต่ละฐานไว้อย่างเรียบร้อย และใช้คำอธิบายง่าย ๆ ให้เข้าใจ เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจกับวิธีการเดินภายในห้อง ซึ่งจะมีราวจับให้เดินตลอดเส้นทาง เมื่อถึงแต่ละฐานก็จะมีสัญลักษณ์ให้สัมผัสได้เพื่อหยุดเดิน โดยการจัดแสดงภายในนี้แบ่งออกเป็นทั้งหมด 8 ฐาน เกี่ยวข้องกับการแพทย์และการดูแลสุขภาพของตนเอง

 

ฐานที่ 1 “ตากับการมองเห็น” เป็นฐานที่อธิบายถึงกระบวนการมองเห็น โดยมีลูกตาจำลองขนาดใหญ่ให้ลองสัมผัส เสียงบรรยายจะอธิบายถึงชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในลูกตา เลนส์ตา จอประสาทตา เส้นเลือกและเส้นประสาทต่างๆ เพื่อให้เข้าใจว่าคนเรามองเห็นได้เพราะอะไร

 

ฐานที่ 2 “วันนี้คุณตรวจเต้านมแล้วหรือยัง” ในฐานนี้จะอธิบายถึงลักษณะปกติของเต้านม และลักษณะที่ผิดปกติของเต้านม โดยจะเน้นอธิบายเรื่องโรคมะเร็งเต้านม ที่สามารถเป็นได้ทั้งชายและหญิง ที่สำคัญมีคำแนะนำให้ลองตรวจเต้านมจากหุ่นจำลองเพื่อหาก้อนในเต้านม ลองคลำหาก้อนในเต้านมที่อาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมได้ ฉันว่าการทดลองนี้มีประโยชน์มาก ๆ กับทุกคน เพราะเป็นสิ่งที่เราสามารถนำไปทดลองตรวจกับตัวเองได้ ถือว่าเป็นการตรวจโรคของตัวเองในขั้นต้น

 

ฐานที่ 3 “บอลลูน ลูกโป่งช่วยชีวิต” ฐานนี้อธิบายเรื่องระบบทางเดินหายใจของเรา ความสำคัญของหัวใจที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างาย และถ้าหากว่าหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ได้ ก็ต้องใช้การรักษาด้วยบอลลูน เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติได้

 

ฐานที่ 4 “ปวดท้อง เป็นอะไรกันแน่” ฐานนี้จะอธิบายว่าภายในช่องท้องของเราประกอบด้วยอวัยวะใดบ้าง รูปร่างเป็นอย่างไร และการปวดท้องในแต่ละตำแหน่งสื่อถึงอวัยวะใด เพื่อให้รู้ได้ว่าปวดท้องตรงนี้อาจจะเป็นโรคอะไรได้บ้าง

 

ฐานที่ 5 “เมื่อฉันเริ่มเป็นสาว” จะมีหุ่นจำลองระบบสืบพันธุ์ของวัยรุ่นเพศหญิง อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นหญิงที่จะเริ่มมีประจำเดือน มีการเปลี่ยนแปลงทางร่ายกาย เสียงบรรยายจะสอนถึงการคุมกำเนิดด้วยห่วง มีหุ่นให้ทดลองสำรวจว่าห่วงคุมกำเนิดอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ ที่สำคัญคำบรรยายยังสอดแทรกวิธีการปฏิบัติตัวของวัยรุ่นหญิงว่าควรทำตัวอย่างไร ควรดูแลสุขลักษณะส่วนตัวอย่างไร มีการสอดแทรกจริยธรรมไว้ในคำบรรยายด้วย

 

ฐานที่ 6 “เมื่อฉันเริ่มเป็นหนุ่ม” มีหุ่นจำลองระบบสืบพันธุ์ของวัยรุ่นเพศชาย อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นชาย นอกจากนี้ยังสอดวิธีการใส่ถุงยางคุมกำเนิดที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถคุมกำเนิดได้อย่างถูกวิธี มีการสอดแทรกคำสอนในเรื่องการปฏิบัติตัวของวัยรุ่นชายที่ควรให้เกียรติเพศหญิง รวมถึงการดูแลสุขลักษณะส่วนตัว

 

ฐานที่ 7 “การผ่าตัดเปลี่ยนข้อแท้ ข้อเทียม” ฐานนี้จะอธิบายในเรื่องไขข้อกระดูกว่าทำหน้าที่อย่างไร มีข้อกระดูกแบบปกติจำลองมาให้สัมผัสว่ามีลักษณะอย่างไร และหากข้อกระดูกเสื่อมจะมีลักษณะอย่างไร ส่วนการผ่าตัดเปลี่ยนเป็นข้อกระดูกเทียมนั้น ก็จะอธิบายว่ามีลักษณะอย่างไร มีการทำงานอย่างไร ให้ผู้เข้ามาเรียนรู้ได้เข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น

 

ฐานที่ 8 “ฉลากยาเพื่อคุณ” ฐานนี้จะอธิบายวิธีการกินยาที่ถูกต้อง เพราะในยามป่วยไข้จะต้องใช้ยาชนิดต่าง ๆ ในการรักษา และยังมีฉลากยาสำหรับผู้พิการทางสายตา หรือคนแก่ที่มองเห็นไม่ชัดนัก มาให้ทดลองสัมผัสและใช้งาน โดยฉลากยานี้ทำขึ้นเพื่อทดลองใช้ในโรงพยาบาลศิริราช วิธีการใช้คือการเจาะรูหรือเย็บแมกซ์ไว้ในช่วงเวลาและจำนวนของยาที่คนนั้นต้องใช้ เป็นการประยุกต์ใช้สิ่งของรอบ ๆ ตัวให้เป็นประโยชน์ ซึ่งฉันคิดว่าเหมาะมากสำหรับผู้พิการทางสายตา เพราะบางครั้งอาจจะไม่มีคนดูแลอยู่ด้วย ทำให้สามารถใช้ยาเองได้อย่างถูกต้อง

 

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

ฐานการเรียนรู้ทั้งหมด 8 ฐาน นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ“การแพทย์แผนไทยและท่องเที่ยวไทย” ผู้ชมจะได้สัมผัสความงามของเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรียนรู้เรื่องการแพทย์แผนไทยกับฐานสมุนไพร ลองสัมผัสและดมยาสมุนไพร พร้อม ๆ ไปกับการฟังเรื่องราวจากเครื่องเสียงเฉพาะตัว นอกจากนิทรรศการสำหรับผู้มองไม่เห็นแล้ว พิพิธภัณฑ์ได้พัฒนาวิธีจัดแสดงให้เหมาะสมแก่ผู้บกพร่องทางการได้ยินด้วย โดยปรับเรื่องราวที่เป็นสาระน่ารู้ และเป็นประโยชน์มาจัดแสดงผ่านสื่อวีดิทัศน์ล่ามภาษามือพร้อม คำบรรยายประกอบ  ห้องนิทรรศการแห่งนี้ จึงช่วยลดข้อจำกัด ในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ให้ผู้บกพร่องทางการเห็นและการได้ยิน รวมถึงประชาชนทั่วไปก็สามารถเรียนรู้ พร้อมกับสัมผัสสิ่งแสดงต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น 2 โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
โทรศัพท์ : 02-419-2601 , 02-419-2618-9
โทรสาร : 02-411-0166
เว็บไซต์ : http://www.sirirajmuseum.com/
อีเมล : sirirajmuseum@gmail.com

วันและเวลาทำการ

จันทร์, พุธ – อาทิตย์ (หยุดวันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 10.00 – 17.00 น. (ปิดจำหน่ายบัตร 16.00 น.)

ค่าเข้าชม

ชาวต่างชาติ (อายุ 18 ปีขึ้นไป) 200 บาท

ชาวไทย (อายุ 18 ปีขึ้นไป) 80 บาท

เด็ก (สูงเกิน 120 ซม. ขึ้นไป อายุไม่เกิน 18 ปี) 25 บาท

เด็กสูงไม่เกิน 120 ซม. ฟรี

การเดินทาง

รถประจำทางสาย : 57, 81, 146, 149 และ 157

เรือด่วนเจ้าพระยา : ระบุลงท่ารถไฟ

เรือข้ามฟาก : ท่าพระจันทร์-วังหลัง,ท่าช้าง-วังหลัง,ท่ามหาราช-วังหลัง

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

หากต้องการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เป็นหมู่คณะ สามารถทำหนังสือส่งมาที่ : เรียน คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ที่อยู่ เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700

แจ้งรายละเอียด ดังนี้

- จำนวนผู้เข้าชม

- วันที่และเวลาในการเยี่ยมชม

- แจ้งความอนุเคราะห์วิทยากร (หากต้องการ)

 

ส่งแฟกซ์มาที่เบอร์ 02-411-3062 (งานสารบรรณคณะฯ) และ 02-411-0166 (หน่วยพิพิธภัณฑ์)

กรุณาส่งหนังสือมาล่วงหน้า 14 วัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 02-419-2617 หรือ Email: sirirajmuseum@gmail.com

 

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

- ห้องน้ำผู้พิการ

- ลิฟต์

สิ่งอำนวยความสะดวก

จอดรถได้ที่วัดอมรินทรารามวรวิหาร

5

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง