กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการาม

พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการาม

14 มิถุนายน 2562

ชื่นชอบ 671

9,815 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

วัดเกตการามเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ สร้างในปี พ.ศ. 1971 สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน ย่านวัดเกตอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ถือเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญของเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันย่านวัดเกตเป็นทั้งย่านที่อยู่อาศัย และย่านท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่

พิพิธภัณฑ์วัดเกตการามก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของศรัทธาวัดเกต เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2542 มีคณะกรรมการวัดเกตการามเป็นผู้ดูแล

 

อาคารของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยเป็นกุฏิพระครูชัยศีลวิมล (พ.ศ. 2429 – 2500)  เรียกกันว่า"โฮงตุ๊เจ้าหลวง" การเข้าชมพิพิธภัณฑ์โดยปกติแล้ว คุณลุงจริน เบน ศรัทธาวัดทำหน้าที่ในการดูแล และต้อนรับเยี่ยมผู้ชม หากแต่ยามใดที่ไม่มีผู้ดูแลประจำอยู่ ณ ที่นั้น ผู้ต้องการเข้าชมสามารถที่จะกดกริ่ง เพื่อเรียกให้คนมาเปิดประตู   เมื่อสอบถามเจ้าอาวาสเพิ่มเติมได้ทราบว่า ก่อนที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ คณะกรรมการวัดไปดูการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็งมาก่อน และเห็นว่า ชุมชนวัดเกตการามมีวัตถุทางวัฒนธรรมที่สามารถจัดแสดงได้เช่นกัน จึงต้องการที่จะจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา เพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มิได้ใช้ในชีวิตประจำวันในปัจจุบันแล้ว

 

การจัดแสดง

ข้าวของที่จัดแสดงโดยมากเป็นของที่บริจาคมาเพิ่มเติมในระหว่างที่มีการก่อตั้ง ผู้บริจาคคนสำคัญคือ คุณลุงจรินทร์ เบน และคุณอนันต์ ฤทธิเดช (เจ้าของเฮือนรัตนา หางดง) และยังมีรูปภาพเมืองเชียงใหม่ในอดีต ถ่ายโดยคุณบุญเสริม สาตราภัย (ภาพที่จัดแสดงเป็นสำเนาภาพ พร้อมคำอธิบายที่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย สุรพงษ์ ภักดี) มีนักวิชาการ รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่เข้ามาช่วยในการทำป้ายอธิบาย

 

       เมื่อเดินเข้าสู่อาคารพิพิธภัณฑ์ ห้องจัดแสดงส่วนแรก เป็นโถงกว้างที่ไม่ได้มีการจัดแบ่งเป็นส่วนด้วยผนังใด ๆ แต่กลุ่มของวัตถุสื่อถึงประเภทของวัตถุ ดังนั้น พื้นที่จึงแตกต่างกันไปโดยปริยาย ทางขวาจากทางเข้า ปรากฏหิ้งพระและพระพุทธรูปศิลปะแบบพม่า เมื่อสอบถามเจ้าอาวาสทราบว่าวัดเพิ่งได้รับบริจาคเมื่อไม่นานมานี้ ส่วนทางซ้ายมือมีกลุ่มวัตถุสำคัญ 2 ประเภทคือ กลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องดนตรีล้านนา

 

        เครื่องใช้ในครัวเรือนโดยมากเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่จัดวางตามชั้นไม้ประกอบขึ้นอย่างง่าย หากวัตถุชิ้นใดมีลักษณะการใช้งานแบบแขวน วัตถุจะได้รับการแขวนตามการใช้งานเดิม ทั้งนี้ จะมีป้ายชื่อของผู้ที่บริจาคสิ่งของ   และป้ายชื่อเรียกวัตถุนั้น ๆ ส่วนกลุ่มวัตถุที่เป็นเครื่องดนตรี มีทั้งเครื่องดนตรีล้านนา สะล้อ ซึง กลองปูจา ฯลฯ และเครื่องดนตรีไทยเช่น ระนาด ฆ้องวง เป็นต้น ซึ่งก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณดังกล่าวมี “รั้วไม้” สูงประมาณสะโพกกั้นเป็นทางเข้าไว้ จากนั้น ผู้ชมสามารถเลือกเข้าชมห้องถัดไป หรืออาจเดินออกไปชมภาพสำเนาแสดงภาพเชียงใหม่ในอดีต ในอาคารเปิดโล่งด้านนอกอีกอาคารหนึ่ง

 

         จากโถงจัดแสดงด้านนอก เมื่อเดินเข้าไปจะแบ่งห้องจัดแสดงไว้ 3 ห้อง ห้องแรก มีปริมาณสิ่งของจำนวนมากและหลากหลาย ทำให้ห้องดังกล่าวไม่ต่างจากคลังวัตถุ สิ่งของบางประเภทเป็นกลุ่มวัตถุใหญ่ เช่น ผ้า ที่ได้รับการจัดเรียงบนราว ประมาณ 3 ชั้น ซ้อนกันในตู้กระจก หนังสือเก่าต่าง ๆ และของที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เครื่องแก้ว ถ้วยโถโอชาม พัดลมผ้าติดเพดาน เครื่องปั้มน้ำ สิ่งของร่วมสมัยอื่น ๆ ซึ่งมีอายุไม่เก่ามากนักแต่มิได้ใช้งานแล้ว

 

         ห้องที่ 2 จัดแสดงของหลากหลายเช่นเดียวกับห้องแรก ประกอบด้วย ภาพเก่า พระพุทธรูป พระพิมพ์ ตาลปัตร (พัดยศของพม่า) หนังสือวรรณกรรมเกี่ยวกับล้านนา เทวรูปที่ปะปนกันตั้งแต่เรื่องของรูปแบบ วัสดุ (ไม้ หิน ปูน) ตุ๊กตาจีน เครื่องชั่งตวงในสมัยก่อน เทป แผ่นเสียงเก่า 

 

         ห้องที่ 3 ซึ่งอยู่ด้านในสุด มีขนาดไม่กว้างมากนัก ประมาณ 2*4 เมตร   มีประตูที่แยกพื้นที่ที่ชัดเจน ห้องดังกล่าวเน้นการแสดงวัตถุที่มีวัสดุเป็นผ้า ธงต่าง ๆ ธงมังกร ผ้ากำปี(ผ้าคัมภีร์) เครื่องแต่งกาย   วัตถุจัดแสดงไว้ทั้งในตู้และขึงบนผนัง ผนังด้านหนึ่งของห้องติดกระดาษแสดงรายชื่อสิ่งของที่จัดแสดงในห้องดังกล่าว ซึ่งเป็นห้องเดียวที่มีกระดาษแสดงรายชื่อวัตถุจัดแสดง และเมื่ออ่านรายละเอียดที่มาที่ไปของวัตถุแล้วจะเห็นว่า เกี่ยวข้องกับกษัตริย์และราชวงศ์ที่ปกครองล้านนาเสียเป็นส่วนใหญ่

บริหารจัดการ

วัดและชุมชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

96 บ้านวัดเกต ถ.เจริญราษฎร์ ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ : 053-204273

วันและเวลาทำการ

เปิดให้บริการทุกวันเวลา 10.00 น. - 16.30 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

หากเริ่มต้นจากหน้าประตูท่าแพ ให้มาตามถนนท่าแพ ข้ามสะพานนวรัฐ ลงสะพานแล้วเลี้ยวซ้าย ตรงมา 750 เมตร วัดเกตการามจะอยู่ขวามือ หรือหากมาจากตลาดวโรรส (กาดหลวง) สามารถเดินข้ามสะพานข้ามแม่น้ำปิงหลังตลาด จะพบกับวัดเกตการามได้เลย

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

-

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

-

สิ่งอำนวยความสะดวก

-

9

แบ่งปัน