กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์วัดสะแล่ง

พิพิธภัณฑ์วัดสะแล่ง

02 กรกฎาคม 2562

ชื่นชอบ 603

5,434 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

วัดสะแล่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในอำเภอลอง จังหวัดแพร่ สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยทวารวดี ต่อมากลายเป็นวัดร้างหลายยุคหลายสมัย ครั้งหลังสุดกลายเป็นวัดร้างเกือบ 300 ปี ก่อนที่พระครูวิจิตรนวการโกศล หรือ พระครูบาสมจิต และพระครูสีลสังวราภิรัต ได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์วัดใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2506 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2527 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้วัดสะแล่งกลายเป็นวัดมีพระสงฆ์ สองปีต่อมาจึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา 

 

สะแล่ง เป็นชื่อของดอกไม้ป่าชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยืนต้นดอกสีขาวนวล ลักษณะของดอกคล้ายดอกปีบหรือกาสะลองในภาษาเหนือ สาเหตุที่วัดสะแล่งใช้ชื่อดอกไม้เป็นชื่อวัดนั้น มีตำนานเล่าว่า สมัยก่อนพุทธกาลเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงดอนสะแล่ง หรือ สะแล่ง แก้วดอนมูล หรือดอนสะแล่งหลวง เจ้าเมืองและชาวบ้านต่างพากันมาถวายภัตตาหาร ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสวยภัตตาหารเสร็จ มเหสีเจ้าเมืองจึงได้นำดอกสะแล่งถวายพระพุทธเจ้าเพื่อเป็นพุทธบูชา และทรงตรัสเป็นพุทธทำนายว่าในอนาคตสถานที่แห่งนี้จะเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุและจะเจริญรุ่งเรืองต่อไปข้างหน้า ปัจจุบันต้นสะแล่งค่อนข้างหาดูยาก ซึ่งทางวัดที่นำมาปลูกไว้บริเวณหลังพระอุโบสถ

 

ก่อนที่จะเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ท่านสามารถเดินชมสิ่งก่อสร้างและสถานที่สำคัญภายในวัด ซึ่งทางวัดอนุรักษ์ไว้และจัดภูมิทัศน์ไว้อย่างงดงาม ทั้งเขตพุทธวาสเก่าที่ประกอบไปด้วย พระธาตุขะอูบคำ ที่ก่อสร้างราวปีพ.ศ. 1100-1200 พระอุโบสถหลังเก่า ศิลปะล้านนา ซุ้มสิงห์จามเทวี ซุ้มพระสามพี่น้อง และลานไม้กลายเป็นหิน ส่วนเขตพุทธาวาสใหม่ อาทิ พระเจดีย์ธาตุ ที่สร้างครอบฐานเดิม พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะตระกูลช่างสุโขทัย ศาลาการเปรียญ ที่ภายในใช้จัดแสดงวัตถุโบราณ และของสำคัญของวัด

 

ข้าวของที่จัดแสดงภายในศาลาการเปรียญมีหลากหลายตามแบบพิพิธภัณฑ์วัด หากแต่มีการจัดหมวดหมู่และบางชิ้นมีป้ายคำอธิบายพร้อม ของส่วนใหญ่เป็นของเนื่องในพระพุทธศาสนา อาทิ พระพุทธรูปโบราณ ปั๊บสา รอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์ วิหารจำลอง บาตรหิน ผ้าพระบท สัตตภัณฑ์ เครื่องรางของขลัง ผ้ายันต์ ชิ้นส่วนพระพุทธรูป เทวรูป นอกจากนี้ยังของใช้ อาทิ เครื่องเขิน มีดดาบ ถ้วยชามสังคโลก ของที่อยู่ในอาคารหลังนี้ส่วนใหญ่เป็นของเก่าแก่ ทางวัดจึงห้ามมิให้ถ่ายภาพเพื่อความปลอดภัย

บริหารจัดการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

19/1 ม. 4 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150
โทรศัพท์ : 054581406, 054581406
เว็บไซต์ : http://watsalaeng.net/index.htm

วันและเวลาทำการ

เปิดทุกวัน 08.00-17.00 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1023 (ต่อเขตเทศบาลเมืองแพร่ควบคุม-วังชิ้น) 

ตรงจากตัวจังหวัดแพร่ หรือเดินทางด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (อินทร์บุรี-เชียงใหม่) 

จากจังหวัดลำปางหรืออุตรดิตถ์ก่อนที่จะเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1023 ที่บ้านแม่แขม ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง 

 

เดินทางโดยรถไฟสายเหนือ ลงที่สถานีบ้านปิน ตำบลบ้านปิน แล้วนั่งรถโดยสารต่อเข้ามายังวัดสะแล่ง เส้นทางแนะนำ กรุงเทพฯ-วัดสะแล่ง

1.เดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 จนถึงจังหวัดลำปาง (ระยะทางประมาณ 599 กิโลเมตร)

2.เมื่อถึงจังหวัดลำปาง ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 11 มีป้ายบอกทางไปจังหวัดแพร่ ทางขึ้น-ลงเขา 2 ลูก รถเก๋งไปได้สบายมาก(ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร )

3.หลังจากลงเขาลูกที่ 2 ถึงสี่แยกมีป้ายบอกทางไป อำเภอลอง ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1023 (ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร)

4.ถึงตลาดอำเภอลอง สอบถามทางไปวัดสะแล่ง (ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร)

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อล่วงหน้า

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

-

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานสำหรับจอดรถ

5

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง