กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรง

30 กรกฎาคม 2561

ชื่นชอบ 532

7,387 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรง ตั้งอยู่ในวัดสำโรง ตำบลวัดสำโรง เริ่มดำเนินการโดยพระครูสิริปุญญาภิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดสำโรง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยเจ้าอาวาสและชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้พื้นบ้าน ครื่องมือจับสัตว์น้ำ สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยในอดีต ห้องพิพิธภัณฑ์อยู่ชั้นล่างของศาลาอเนกประสงค์ ภายในห้องแบ่งการจัดแสดงเป็นหมวดหมู่

ส่วนที่ ๑ ครัวโบราณ จัดแสดงอุปกรณ์ในการหุงต้ม อันประกอบด้วย เตาดินเผา หม้อ ดิน ประเภท ต่างๆ เช่น หม้อหูกระทะ หม้อต้ม กาดินเผาและเครื่องใช้ในครัว เช่น ตะกร้าล้างปลา กระต่ายขูดมะพร้าว กระบวย โอ่งน้ำ

ส่วนที่ ๒ หัตถกรรมพื้นบ้าน แสดงเครื่องจักสานอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการ แปรรูปไม้ไผ่และหวายเป็นเครื่องมือ ใช้สอย เช่น สาแหรก ตะกร้ากระบุง กระจาด กระด้ง สนับโรย ปุ้งกี๋

ส่วนที่ ๓ อุปกรณ์ตวงข้าว แสดงอุปกรณ์ชั่ง ตวง วัด การตวงข้าวเปลือกแบบเก่าที่บรรพบุรุษเคยใช้ในอดีตประกอบด้วย กระบุงปากบาน กระบุงโกย กระบุงตวง ถังตวงข้าว(ไม้) (เหล็ก) กระด้งบดข้าว ไม้บดข้าว

 

ส่วนที่ ๔ เครื่องมือการทำนา การทำนาในอดีตใช้แรงงานจากสัตว์ คือ วัว ควาย เป็นแรงงานหลัก เครื่องมือในการทำนาที่จัดแสดงประกอบด้วย โกรกคล้องคอควายสำหรับ ลากไถ แอก คราด ไถ ไม้คานหาบข้าวไม้คานหลาว งอบ เคียวเกี่ยวข้าว

ส่วนที่ ๕ เครื่องมือจับสัตว์น้ำ สะท้อนวิถีการกินอยู่อย่างไทยแบบพออยู่พอกิน ประกอบด้วยเครื่องมือดักสัตว์ เช่น ด้วงดักหนู แร้ว กับดักต่างๆและอุปกรณ์จับสัตว์น้ำ เช่น ข้อง เบ็ด อวน ฉมวก สุ่ม

ส่วน ที่ ๖ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เป็นตู้แสดง ๓ ชั้น ตู้ที่ ๑ ชั้นบนตั้งแสดงเชี่ยนหมากทองเหลือง ตะเกียงลาน กลอนประตู ชั้นล่างจัดแสดง เครื่องมือช่างไม้ จำพวกกบผิว กบบังใบ เลื่อยอก เลื่อยลันดา อีกด้านหนึ่งจัดแสดง เครื่องทองเหลือง จำพวก ถาดทองเหลือง หม้อทองเหลือง ตู้ที่ ๒ จัดแสดง ตราชั่ง ลูกคิดและของเบ็ตเตล็ดอื่นๆ

ส่วนรอบๆ ห้องตั้งแสดง ไห กระถางเคลือบ ประเภทต่างๆ นอกจากนี้ยังมีอาคารจัดแสดงอาชีพชาวนา จัดแสดงอุปกรณ์เครื่องมือในการทำนา อุปกรณ์ในการไถหว่าน อุปกรณ์ในการเกี่ยวข้าว นวดข้าว เช่น เครื่องฝัดข้าว สีข้าว ครกตำข้าว, อุปกรณ์ในการวิดน้ำ เช่น ระหัดชกมวย ระหัดเครื่องยนต์ และเป็นที่จัดแสดงเรือประเภทต่างๆ เช่น เรือบด เรือจ้าง เรือแปะ

The museum was established in 1999, headed by Phra Khru Siripunyaphiwat, the abbot, with an aim to preserve folk heritage for students and the interested public to learn. Most of the items have been donated by community members.
The exhibitions are carried out in two buildings. The first one displays an old-fashioned kitchen, wickerware, rice measuring equipment, paddy-farming tools, animal traps, kitchen utensils and carpentry tools.The second building exhibits paddy rice farming instruments from seedlings, transplanting, harvesting, threshing to milling. Furthermore, different types of boats are also on display.

บริหารจัดการ

วัดและชุมชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

21 หมู่ 3 ตำบลวัดสำโรง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120
โทรศัพท์ : 0892231243
อีเมล : watsamrong@hotmail.com

วันและเวลาทำการ

ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

1

แบ่งปัน