แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
พิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก เป็นโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติด้านชาติพันธุ์วิทยา กำเนิดจากนโยบายของกรมศิลปากร ภายใต้แนวคิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มุ่งเน้นการกระจายความเจริญจากกลางใจเมืองออกสู่ชานเมือง และการเติมเต็มความสมบูรณ์ของการจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมวิทยา
ต่อมา กรมศิลปากรได้ปรับพื้นที่โดยผนวกพิพิธภัณฑสถานเฉพาะด้านสาขาอื่นๆ และอาคารปฏิบัติการในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของหน่วยงานที่โยกย้ายออกจากกรุงเทพมหานคร มารวมไว้ด้วยกัน เพื่อเตรียมจัดตั้งพื้นที่ทั้งโครงการให้เป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติรัชกาล-ที่ 9 แหล่งเรียนรู้สหสาขาวิชา ที่ครอบคลุมความรู้เรื่องเกี่ยวกับคนไทย ทั้งชาติพันธุ์วิทยา วัฒนธรรม ศิลปะ และธรรมชาติวิทยา ที่สามารถเอื้อประโยชน์การเรียนรู้แก่สังคมได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นเสมือนประตูเข้าสู่ภูมิภาค ให้ความรู้แก่อาคันตุกะเป็นบทนำก่อนเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆของประเทศ
ถึงแม้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ก็สามารถให้ความรู้แก่นักเรียน หรือผู้ที่สนใจได้ ในรูปแบบของนิทรรศการสัญจรตามสถานศึกษา และศูนย์กลางชุมชน พร้อมสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะวัตถุ โบราณวัตถุจำลอง ภาพสไลด์ เป็นต้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้บรรยาย และเปิดให้บริการในส่วนของศูนย์ข้อมูลโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ซึ่งมีการจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ประเภทเครื่องปั้นดินเผา ผ้า อาวุธ เครื่องใช้ในการเกษตร จำนวนมากกว่า 10,000 รายการในรูปแบบของคลังเปิด
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
ชาติพันธุ์วิทยา
พื้นฐานแนวคิดกลุ่มชาติพันธุ์ในการจัดแสดงนิทรรศการถาวร ด้านชาติพันธุ์วิทยา
ณ ปัจจุบัน คณะทำงานได้วางแนวทางการจัดแสดงเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์วิทยาในประเทศไทย บนพื้นฐานแนวคิดการจัดแบ่งกลุ่มตามตระกูลภาษาของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งแบ่งไว้ 5 ตระกูลภาษาหลักของคนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ได้แก่
ภาษาตระกูลไท (Tai Language Family)
ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family)
ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต (Shino-Tibetan Language Family)
ภาษาตระกูลออสโตรเนเชียน หรือ มาลาโยโพลีเนเชียน( Austronesian or Maloyo-Polynasian Language Family)
ภาษาตระกูลม้ง- เมี่ยน (Hmong – Mien Language Family)
รวมจำนวนกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย จากข้อมูลศึกษา ณ ปัจจุบันมี 46 กลุ่มชาติพันธุ์จำแนกตาม 5 ตระกูลภาษาหลัก ดังนี้
ภาษาตระกูลไท |
ภาษาตระกูล ออสโตรเอเชียติก |
ภาษาตระกูล จีน –ทิเบต |
ภาษาตระกูล ออสโตรเนเชียน |
ภาษาตระกูล ม้ง-เมี่ยน |
1. ไทยกลาง |
1.ละเวือะ |
1. จีน |
1. มลายู |
1.ม้ง |
2. ไทยวน |
2.ดาระอาง |
2. (จีน) ฮ่อ |
2. อูลักลาโว้ย |
2.เมี่ยน |
3.ไทลื้อ |
3. มัล/ปรัย |
3.อาข่า |
3. มอแกน |
|
4. ยอง. |
4. ขมุ |
4. ลีซู |
|
|
5. เขิน |
5. มลาบรี |
5. ลาฮู(มูเซอ) |
|
|
6. ไทใหญ่ |
6. คแมร-ลือ |
6. กะเหรียง |
|
|
7. ไทยอิสาน (ลาวอีสาน,ลาว) |
7. กูย |
6.1 จกอ |
|
|
8. ผู้ไท |
8. บรู |
6.2 พล่อ |
|
|
9. กะเลิง |
9. โส้ |
6.3 คะยา(บเว) |
|
|
10. โย้ย |
10. ญัฮกูรู |
6.4 ตองสู |
|
|
11. ญ้อ |
11. ชอง |
6.5 กะยัน |
|
|
12. ไทยโคราช (ไทเบิ้ง, ไทเติ้ง) |
12. กะซองและซัมเร |
7. ก้อง( อุก๋อง) |
|
|
13. พวน |
13. มอญ |
8. บิซู |
|
|
14. ลาวเวียง |
14. เวียตนาม |
|
|
|
15. ลาวตี้ ลาวแง้ว |
15.เซมัง(นิกริโต) |
|
|
|
16. ลาวครั่ง (ลาวหล่ม,ไทเลย |
|
|
|
|
17. โซ่ง |
|
|
|
|
18. ไทยใต้ |
|
|
|
|
หมายเหตุการณ์จัดลำดับกลุ่ม
1. จัดตามกลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ซึ่งบางกลุ่มวัฒนธรรมอยู่ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกัน
ส่งผลต่อการส่ง-รับวัฒนธรรมซึ่งกัน
2. จัดตามกลุ่มที่เป็นเอกเทศทางวัฒนธรรม
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 02-902 7568-9
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/museumkanjanaphisek/
อีเมล : kanjanaphisek.445@gmail.com
วันและเวลาทำการ
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทาง
โดยรถยนต์ จากกรุงเทเพฯ ใช้ทางด่วนพิเศษ ลงที่ด่านธรรมศาสตร์ ใช้เส้นทางถนนคลองหลวงผ่าน
ทางเข้าวัดพระธรรมกายถึงจุดตัดกับถนนวงแหวนรอบนอกบางพลี-บางปะอิน ตรงไปจนสุดเส้นทางที่ถนนเลียบคลองห้า
หรือใช้ทางเส้นรังสิต-นครนายก เลี้ยวเข้าทางถนนเลียบคลองห้า ผ่านหน้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีลานจอดรถ