กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ เทศบาลตำบลเขาแก้ว

หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ เทศบาลตำบลเขาแก้ว

27 กรกฎาคม 2561

ชื่นชอบ 488

10,071 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ

 

หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ ตั้งอยู่ที่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว เดิมชาวไทดำอพยพมาจากเมืองเชียงขวาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2448 มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านนาป่าหนาด โดยก่อตั้งเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2539 โดย อาจารย์เพชรตะบอง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเชียงคานร่วมกับชาวบ้าน บ้านนาป่าหนาดในการจัดสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งที่เผยแพร่ข้อมูลด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิตรวมทั้งประวัติ ความเป็นมาของชนชาวไทดำบ้านนาป่าหนาด ปัจจุบันยังมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทดำ มีบ้านที่สร้างขึ้นตามแบบเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชาวไทดำ รวมทั้งเครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในอดีต และยังมีการรวมกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ของชาวบ้าน โดยสามารถชมการทอผ้า และเลือกซื้อสินค้าเป็นของฝากได้  นักท่องเที่ยวที่สนใจที่จะสัมผัสชีวิต ความเป็นอยู่ ชาวไทดำแบบโฮมสเตย์ได้เช่นกัน

 

การเดินทาง

 

ออกจากตัวจังหวัดเลยเดินทางไปตามเส้นทาง เลย – เชียงคาน ถึงสามแยกบ้านธาตุเลี้ยวขวามาประมาณ 500 เมตร จะพบทางแยกไปบ้านนาป่าหนาด

 

บทความจากเพื่อนบ้านของเรา gotoloei.com

 

จังหวัดเลย นับเป็นเมืองเก่า มีความเป็นมา สืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิม และยังคงรักษาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้อย่างสมบูรณ์ gotoloei หยิบหนังสือ เล่มนึงที่กล่าวถึงเมืองเลยในอดีต พรางก็เรียงลำดับ ความรู้ประวัติศาสตร์ที่ตัวเองรับในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน จังหวัดเลย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว มีแม้น้ำโขงและแม่น้ำเหือง เป็นน่านน้ำแบ่งดินแดน แต่ดูเหมือนจะไม่มีอะไรมาแบ่งความสัมพันธ์ของสองเราให้ออกจากกันได้  ย้อนไปอ่านหนังสือเล่มเดิม ตอนหนึ่งกล่าวถึง ชุมชนที่อพยพมาจากตอนใต้ของเมืองจีน ซึ่งตามประวัติศาสตร์นั้น ระบุไว้ว่าเป็นการกวาดต้อน ประชาชน อันเกิดจากสงครามแบ่งแยกดินแดนในอดีต "หมู่บ้านไทดำ" เป็นอีกตำนานหน้าหนึ่งของชนกลุ่มนี้

 

gotoloei สนใจในความเป็นวัฒนธรรม และเริ่มสำรวจเส้นทาง รถที่ผมเลือกใช้วั้นนี้  รถเครื่องน่าจะพาเราไปในหมู่บ้านได้สะดวกที่สุด รุ่งขึ้น ผมเดินทางไปที่ "บ้านนาป่าหนาด" อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย   โดยออกจากจังหวัดเลย ตามเส้นทาง เลย - เชียงคาน  ข้ามสะพานแม่น้ำเลย สักสองกิโลเมตร เป็นบ้านธาตุ ผมเลี้ยวขวา ที่สามแยกบ้านธาตุ และห่างจากแยกไม่ไกล ประมาณ 400 เมตร ก็พบทางแยกซ้ายเพื่อเดินทางต่อไปที่ บ้านนาป่าหนาด ระยะทางจากสามแยกบ้าน ธาตุประมาณ 8 กิโลเมตร ครับ gotoloei ขับรถกินลม ไปเรื่อย ๆ ชมทิวเขาของเมืองเลย มีหลงบ้าง จอดถามทางบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนต่างถิ่น..ผมจอดรถเครื่องคู่ใจของผม ที่ศูนย์วัฒนธรรมบ้านนาป่าหนาด  "สิบห้าปี... ที่ไทเฮา..เสียแดนดิน.. เซิญเฮาไป.." เสียงเพลงดูเหมือนจะเป็นสิ่งแรกที่พบได้รับรู้ ผมเองนอกจากไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับความเป็นมาด้วยแล้ว ยิ่งไม่ต้องถามครับ ว่าสิ่งที่ได้ยินได้เห็นนั้น เชื่อมโยงกันไม่ได้จริง ๆ  ซึ่งผมมาทราบภายหลังว่าเพลงที่ผมได้ยินนั้นน่ะ เหมือนจะเคยได้ยินที่อื่น ๆ มาก่อน .. เป็นเพลงของชาวไทดำ ที่ได้กล่าวถึงการสูญเสียดินแดน ของการแย่งชิงแคว้น ต่าง ๆ ในสมัยอดีต

 

สิ่งแรกที่ผมพบเห็น เป็นภาพแปลกตาสำหรับผม ก็คือ การแต่งกาย ด้วยผ้าสีดำ ไม่ว่าจะเป็นกางเกง เสื้อผ้า ไม่รีรอครับ ผมเข้าไปถามคุณลุงป้า ที่นี่ เพื่อสอบถามข้อมูล .... ภายในศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้านไทดำ สภาพบ้านเรือน ยังคงรักษารูปแบบสิ่งปลูกสร้างไว้เหมือนเดิมครับ คือ เป็นบ้านทรงใต้ถุนสูง มุงหญ้า  ภายในบ้านชั้น บน จะเป็น ห้องโล่ง เพียงห้องเดี่ยว ไม่มีแบ่งห้องนอนของ พ่อแม่ หรือว่าลูก ๆ   และ ไกล้ ๆ กัน ๆ มี เพลิงมุงหญ้าคา ทรงสูง ผมได้พบกับ พี่ ๆ น้า ๆ คุณยาย 

 

ช่วยกัน สร้างสรร งานหัตถกรรม พื้นบ้าน ศิลปฝีมือของชาวไทยดำ

 

ผมมีโอกาสดีที่ได้รู้จักกับคุณ "ลุงกร" ซึ่งเป็นประธานกลุ่มชุมชนหมู่บ้านไทดำ ลุงกรเป็นลูกหลานชาวไทดำ    ที่มีเจตจำนงค์รักษา วัฒนธรรมอันมีค่า ของชาวไทดำไว้ให้ลูกหลาน  ลุงกรได้กล่าวกับเราว่า สำหรับความเป็นมาของหมู่บ้าน ชาวไทดำนี้ มีประวัติมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่สมัยมีที่มีการแย่งชิงดินแดนแคว้นต่าง ๆ ทางตอนเหนือของประเทศลาว ซึ่งสมัยนั้น เรียกว่าแคว้น 12 จุไท มีการกวาดต้อน ชาวไทดำ มาหลายครั้ง ซึ่งแต่ละครั้ง กษัตริย์ หรือเจ้าเมือง ก็จะให้ชาวไทดำไปอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ อย่างเช่น จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดลพบุรี และครั้งหลังนี้ ได้มีการปราบกบฏ และกวาดต้อนชาวไทดำ มาอยู่บริเวณ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งผมเองคงไม่ขอกล่าวว่าไคร แย่งชิงดินแดนของใคร หรือไคร รุกรานใคร แต่ผมสนใจที่ชาวไทดำ มีอะไรหลาย อย่างที่เขา ไม่เพียงแต่อพยพจากถิ่นฐาน เฉพาะร่างกาย แต่เขานำขนบธรรมเนียมประเพณีทุกอย่างที่เป็นของเขา และยังคงไว้เสมอภาษาไทดำ .. ลุงกร ใด้อธิบาย ถึงภาษาไทดำ ที่ลุงกรได้พยายามเก็บรวบรวม และเพื่อเข้าใจได้ง่าย ลุงกรได้ ทำการเปรียบเทียบกับเสียงการสะกด รวมถึง พยัญชนะ ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

ปฏิทินเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่  ชาวไทดำ ยังคงใช้ปีปฏิทินของตนเอง ... หนึ่งสัปดาห์บ้านเรา มี 7 วัน แต่ของชาวไทดำ นั้น มีอยู่ 10 วันครับ  ผมคงไม่สามารถจำได้ครบว่าประกอบด้วยวันอะไรบ้าง.. พ่อเฒ่า และคุณยาย ที่นี่ นั่งนับวัน ในแต่ละวันในหนึ่งสัปดาห์ ให้ gotoloei ฟัง .. และฟังแล้ว มันเหมือนกับการได้รับความรู้ใหม่ ที่ผมไม่คิดว่า การมาบ้านนาป่าหนาดครั้งนี้ ผมจะได้อะไรมากกว่าที่ผมคิดไว้รูปทรงของบ้านไทดำ.  เป็นบ้านทรงสูงมุงด้วยหญ้า ด้านบนนั้น เป็นห้องโถง  "แล้ว ครอบครับ พัก..ด้วยกัน เหรอครับ" ? ผมเองก็นึกสภาพการอยู่ด้วยกันแบบครอบครัวปัจจุบัน  ถ้าไม่มีห้องกัน จะเป็นอย่างไร  .. คุณลุงกร อธิบายให้เราฟังว่า ครอบครัวสมัยก่อนนั้น ไม่ได้แบ่งกั้นเหมือนปัจจุบัน หรอก เพราะ การดูแลบุตรหลานของตน ง่ายและสะดวก ไม่ต้องกังวลว่าอยู่ภายในห้องอีกห้องหนึ่ง อยู่ในสายตาของผู้ใหญ่

 

"เอ ..แล้วถ้าเขาแต่งงาน หรือมีครอบครัว" ?   ลุงกร ก็ไขข้อข้องใจกับผมอีกครับว่า ถ้าลูกชาย ลูกสาวของใครมี ครอบครัวแล้ว ก็จะมีห้องเป็นผ้าคล้ายมุ้ง สีดำ เหมือนเสื้อผ้าที่ใส่นี้แหละ กั้น เป็นคล้ายห้อง เพื่อความเป็นส่วนตัว.. ทำให้เราทราบถึงวัฒนธรรมอีกอย่างของชาวไทดำที่นี่ครับ.. ชาวไทดำ เป็นชนเผ่าที่นับถือ "พ่อมด" ซึ่งพ่อมด ลุงกรก็เปรียบเสมือน เทวดา การประกอบพิธิกรรมต่าง ๆ จะเป็นการเชิญพ่อมด มาเพื่อประกอบพิธิกรรม ของชนเผ่า  ปัจจบัน ชาวไทดำก็ยังคงประเพณีอันดีงามนี้ไว้อยู่  การได้ขึ้นสวรรค์ถือว่าเป็นสิ่งสูงสุดของชาวไทดำ สวรรค์ ในที่นี้ หมายถึง "เมืองแถง" เมือง ที่เคยเป็นนครของชาวไทดำ .. ชาวไทดำมีความเชื่อว่า ตายไปแล้วจะได้อยู่ที่เมืองแถง ถือว่าเป็นเมืองสวรรค์การประกอบพิธีกรรมบูชาพ่อมด ชาวไทดำจะล้อมวงกันเต้น และจะมีหญิงกระทุ้งไม้ไผ่ให้จังหวะอยู่รอบวง ซึ่งประเพณีดังกล่าว เป็นการเล่นเพื่อการเชิญเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ลุงกรบอกกับผมว่า ปกติแล้ว การเต้น แบบนี้ จะทำนานมาก เป็นวัน ชาวบ้านผลัดเปลี่ยนกันทำพิธีกรรม

 

ประวัติของไทดำ

 

ชาวไทดำ  อพยพมาจากแคว้นพวน  ในประเทศลาวปัจจุบัน  ซึ่งก่อนหน้านั้นอยู่ที่แคว้นสิบสองจุไท ซึ่งเป็นบ้านเกิดเดิมของชาวไทดำ  ในอดีตแคว้นสิบสองจุไทเป็นเขตอาณาจักรสยาม  ปัจจุบันอยู่ในประเทศเวียดนาม  เมื่อปี  พ.ศ.  2417  เมื่อพวกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองเชียงขวางซึ่งเป็นตัวเมืองสำคัญในแคว้นพวน  จึงได้เริ่มอพยพลงมาตามเส้นทางเรื่อยๆ  จนได้มาพักที่บ้านน้ำก้อใหญ่  ตำบลน้ำก้อ อ.หล่มสัก  จ.เพชรบูรณ์  ต่อมามีชาวไทดำกลุ่มหนึ่งได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงไปยังบ้านน้ำกุ่มแขวงเวียงจันทร์  แต่ในขณะนั้นเขตเวียงจันทร์มีปัญหาการเจรจากับฝรั่งเศส  ไทดำจึงข้ามมาแม่น้ำโขงกลับมาตั้งหมู่บ้านนาป่าหนาด  ต.เขาแก้ว  อ.เชียงคาน  จ.เลย  ซึ่งเป็นถิ่นฐานดั้งเดิมและจนถึงปัจจุบันที่หมู่บ้านนาป่าหนาด  ต.เขาแก้ว  อ.เชียงคาน  จ.เลย  เมื่อปี  พ.ศ.2538  มี  15  ครัวเรือน ปัจจุบันชาวไทดำ  มีจำนวน  825  ครัวเรือน  มีอาชีพส่วนใหญ่ทางการเกษตรกรรม

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

อื่นๆ

แผนที่

Map

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

169 หมู่ที่ 4 ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 42110 ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 42110
โทรศัพท์ : 042-070701
โทรสาร : 042-070701
เว็บไซต์ : http://ksm.go.th/
อีเมล : khaokaewck@gmail.com

ค่าเข้าชม

เป็นค่าการแสดง  1,500

ถ้าไม่มีการแสดงก็ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

เทศบาลตำบลเขาแก้ว  0420-70701

4

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง