กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ชุมชนชาวเกาะลันตา

พิพิธภัณฑ์ชุมชนชาวเกาะลันตา

06 มีนาคม 2562

ชื่นชอบ 651

8,116 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์ชุมชนชาวเกาะลันตา มีแนวคิดในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ คือ การที่คนในชุมชนเริ่มมองเห็นคุณค่าทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่ว่าการอำเภอเกาะลันตาหลังเก่า ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัย       รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล(colonial) จากตะวันตก และอายุมากกว่า 100 ปี  จึงเกิดเป็นโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูอาคารที่ว่าการอำเภอเกาะลันตา ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้และแหล่งรวบรวมเรื่องราวที่เกี่ยวกับความเป็นลันตา ทั้งวิถีชีวิตดั้งเดิม ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ นิเวศวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งของชาวเล ชาวจีน และมุสลิม

ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 6 ห้องหลัก ได้แก่ ห้องแรกเป็นห้องสมุด รวบรวมเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเกาะลันตาที่มีอยู่ทั้งในอดีตและปัจจุบัน(เอกสารรวบรวมการศึกษาเพื่อทำพิพิธภัณฑ์) ห้องที่สองคือห้องนายอำเภอ จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของนายอำเภอ เช่น โต๊ะนายอำเภอ โทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ดีด เป็นต้น ห้องต่อไปเป็นห้องวัฒนธรรมชาวจีน  ห้องวัฒนธรรมชาวเล และห้องวัฒนธรรมชาวมลายูหรือมุสลิม ซึ่งทั้งสามห้องนี้จะอยู่เรียงติดกัน บ่งบอกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละกลุมชาติพันธุ์ จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ และห้องสุดท้ายจะเป็นหุ่นจำลองวิถีชีวิตต่างๆ ของผู้คนบนเกาะ เช่น หุ่นจำลองแสดงการจับปลา  ป่าชายเลน  เต่าเผาถ่านจำลอง เป็นต้น เพื่อสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับผู้เยี่ยมชม ส่วนด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ตกแต่งเป็นสานสาธารณะเล็กๆ ให้แก่ผู้เข้าชมได้พักผ่อนด้วย

นอกจากอาคารพิพิธภัณฑ์ ยังมีพิพิธภัณฑ์มีชีวิต คือ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมต่างๆที่อยู่ในชุมชนเก่าศรีรายาและบ้านร็องแง้งของชาวเล

ชุมชนเก่าศรีรายา เป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันทั้งไทยพุทธและมุสลิม สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ลักษณะบ้านจะทอดยาวยาวลงไปในทะเล ถือได้ว่าเป็นบ้านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวประมาณ 100 – 150 เมตร และยังเต็มไปด้วยกลิ่นอายของอดีต มีศาลเจ้า ท่าเทียบเรือ ร้านกาแฟโบราณ และร้านขนมจีน พร้อมที่จะให้ผู้คนจากภายนอกมาสัมผัสเรียนรู้ถึงความต่างที่ลงตัวของชุมชนเก่า

 

บ้านร็องแง็ง หรือพิพิธภัณฑ์ของชาวเล บอกเล่าวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ของชาวเล เช่น การรำ   ร็องแง็ง  ซึ่งเป็นการรำที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมยุโรปและเอเชียเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยเครื่องคนตรีไวโอลิน(ซอ)ของฝรั่ง, รำมะนาของอาหรับ, ฆ้องของจีน, รวมกันในบทเพลง “ปันตุน” ในภาษามลายู  ถือได้ว่าเป็นการแสดงที่เป็นเอกลัษณ์อีกอย่างของชาวเล 

บริหารจัดการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

ห้องสมุด ซึ่งเก็บรวบรวมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกาะลันตาทั้งในอดีตและปัจจุบัน

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

อาคารที่ว่าการอำเภอเกาะลันตาหลังเก่า หมู่ 2 ตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ 81150
โทรศัพท์ : อ.ทรงธรรม(ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์) 093-638 1419 / 096-881 8608

วันและเวลาทำการ

ทุกวัน (ต้องโทรแจ้งผู้แลพิพิธภัณฑ์ก่อนเข้าชม)

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

การเดินทาง

  • โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-ระนอง-พังงา-กระบี่-อำเภอคลองท่อม ระยะทางประมาณ 973 กิโลเมตร

และต่อด้วยการข้ามแพขนานยนต์ที่ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 บ้านหัวหิน-เกาะลันตาน้อย และ ช่วงที่ 2 เกาะลันตาน้อย-เกาะลันตาใหญ่ 

  • รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของบริษัทเอกชน เส้นทางกรุงเทพฯ-กระบี่ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้(ใหม่) ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11-12 ชั่วโมง
  • รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ(หัวลำโพง)-สถานีรถไฟจังหวัดตรัง หรือ สถานีรถไฟทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นต่อรถโดยสารหรือรถแท็กซี่รับจ้างเข้าจังหวัดกระบี่
  • เครื่องบิน มีสายการบินระหว่าง กรุงเทพฯ-กระบี่ ทุกวัน ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง และ อากาศยานสุวรรณภูมิ

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชมและประสานงานล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

ไม่มี

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

5

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง