กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์

พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์

28 มิถุนายน 2562

ชื่นชอบ 514

6,586 ผู้เข้าชม

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ตลาดมีชีวิต พิพิธภัณฑ์มีชีวา คงจะไม่ใช่คำกล่าวที่เกินเลยไปสำหรับ "ตลาดสามชุก" จังหวัดสุพรรณบุรี ตลาดสามชุกเป็นตลาดริมแม่น้ำสุพรรณบุรี ในอดีตเป็นชุมทางการค้าระหว่างชาวบ้านที่นำของป่าจากทิศตะวันตกมาแลกเปลี่ยนและซื้อขายกับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ หากแต่ตลาดที่เคยรุ่งโรจน์มาตั้งแต่เมื่อ 100 ปีที่แล้ว เมื่อยุคสมัยแปรเปลี่ยน การสัญจรทางน้ำถูกแทนที่ด้วยถนนเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ทำให้ตลาดแห่งนี้ซบเซา ร้านรวงหลายแห่งเริ่มปิดตัวลง 

ตลาดสามชุกเริ่มฟื้นจากการอาคารโคม่า เมื่อคนในชุมชนกลุ่มหนึ่งเริ่มมองเห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์และรากเหง้าตัวเอง รวมตัวกันเป็นคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก (คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก ได้รับรางวัลองค์กรดีเด่นด้านการอนุรักษ์ศิลปกรรม ปี 2548 จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ) ประกอบกับในปี 2545 สามชุกได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองนำร่องของโครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ มูลนิธิชุมชนไท  องค์กรชุมชนและภาคีจากภายนอกจึงร่วมกันพัฒนาตลาดสามชุกให้เป็นตลาดมีชีวิต จัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การทำความสะอาดตลาด ปรับปรุงภูมิทัศน์ รื้อฟื้นการทำอาหารไทยพื้นบ้าน ทัศนศึกษาดูงาน และร่วมก่อตั้งพิพิธภัณฑ์  โดยใช้บ้านขุนจำนงจีนารักษ์เป็นที่จัดแสดง โดยมีมูลนิธิเล็กประไพ วิริยะพันธุ์ เข้ามาช่วยพัฒนางานพิพิธภัณฑ์

บ้านขุนจำนงจีนารักษ์เป็นอาคารห้องแถวไม้สามชั้น ที่คงไว้ซึ่งรูปแบบเรือนเก่าที่ระเบียงและเชิงชายฉลุลายไม้สวยงาม ขุนจำนงจีนารักษ์คหบดีชาวจีนผู้เป็นเจ้าของ เป็นนายอากรคนแรกของสามชุก ปัจจุบันตัวบ้านอยู่ภายในครอบครองของทายาท แต่ได้ให้คณะกรรมพัฒนาตลาดสามชุกเช่าทำพิพิธภัณฑ์เป็นเวลา 10 ปี ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ขายหนังสือและโปสการ์ดสวย ๆ รูปวาดตลาดสามชุกที่รายได้ส่วนหนึ่งนำไปสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน ชั้นล่างเปิดโล่งต้อนรับผู้มาเยือน โดยจัดแสดงนิทรรศการความเป็นมาของตลาดร้อยปีสามชุก โมเดลย่อส่วนของตลาด รวมไปถึงส่วนที่แนะนำร้านค้าและสถานที่ที่น่าสนในภายในตลาด อาทิ ร้านกาแฟท่าเรือส่ง บุญช่วยหัตถกิจ ร้านนาฬิกาโบราณ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสามชุก  ร้านถ่ายรูปศิลป์ธรรมชาติ โรงแรมอุดมโชค  ชั้นสองคงไว้ซึ่งเครื่องเรือนของท่านเจ้าของเดิมเหมือนเมื่อครั้งขุนจำนงจีนารักษ์ยังมีชีวิต ตามฝาผนังประดับประดาด้วยรูปภาพเก่าของครอบครัวจีนารักษ์ ส่วนชั้นที่สาม เป็นพื้นที่ของนิทรรศการหมุนเวียน 

การได้รู้จักประวัติความเป็นมา และวิถีชีวิตของคนตลาดสามชุกจากการเข้าชมพิพิธภัณฑ์  ยิ่งทำให้การเดินชมตลาดสามชุกมีสีสันยิ่งขึ้น ร้านรวงหลายร้านยินดีเล่าเรื่องราวเมื่อครั้งอดีต บางร้านนำของเก่าที่หาดูได้ยากที่เก็บเอาไว้มาแบ่งกันชม  เรียกได้ว่าทั้งตลาดสามชุกคือพิพิธภัณฑ์ก็ย่อมได้

 

บริหารจัดการ

-

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

บ้านขุนจำนงจีนารักษ์ อาคารไม้โบราณ 3 ชั้น สร้างขึ้นในสมัย รัชกาลที่6

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ตลาดสามชุก ตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี 72130
โทรศัพท์ : 0-3558-7728
โทรสาร : 0-3558-4505
เว็บไซต์ : http://www.samchuk.in.th/

วันและเวลาทำการ

เปิดทุกวัน 09.00-18.00 น

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

การเดินทาง

 1. โดยรถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ผ่าน อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี ไปจนถึงตัว จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นไป ตามหลวงหมายเลข 340 แยกเข้า อ. สามชุก ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก

2.รถโดยสารประจำทาง มีรถปรับอากาศจาก สายใต้และหมอชิต สาย กรุงเทพ-สุพรรณ-ท่าช้างบอกลงสามชุก แล้วเดินข้ามสะพานประมาณ 100 เมตร

3. โดยรถตู้โดยสาร มีรถตู้ไปสามชุก คิวรถอยู่ตรงข้ามกองสลาก รถวิ่งไปถึงหน้าตลาดสามชุกเลยค่ารถ คนละ 120 บาท

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

2

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเล่าในจังหวัดสุพรรณบุรี