แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
เมื่อปี พ.ศ.2544 ชุมชนตำบลท่าหิน ได้รวมตัวกันจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ เพื่อจะอนุรักษ์และฟิ้นฟูวิถีชีวิตท้องถิ่นของตนเอง ให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตที่มีอัตลักษณ์จากวิถีการทำตาลโตนด วิถีการทำนา วิถีการประมง(ชาวเล) จึงเกิดศูนย์การเรียนรู้วิถีโหนด-นา-เลขึ้น
วิถีโหนด นา เล มีความหมาย คือ
- “โหนด” มาจากการทำ ตาลโตนด และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากตาล ซึ่งที่เป็นพืชเศรษฐกิจของที่นี่ชุมชน
- “นา” มาจากการ ทำนา ที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อการรักษาระบบนิเวศน์ให้ยั่งยืน
- “เล” มาจาก วิถีชาวเล ที่ทำประมงน้ำจืดในทะเลสาบสงขลา
ภายในศูนย์การเรียนรู้แบ่งการจัดแสดงเป็น 3 โซน ได้แก่
- โซนวิถีโหนด
- โซนวิถีนา
- โซนวิถีเล
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 074-590 546, 081-2757156
โทรสาร : 074-590 546
อีเมล : poonsup123@gmail.com
วันและเวลาทำการ
เปิดทุกวัน ** แต่ต้องติดต่อล่วงหน้า อย่างน้อย 5 - 7 วัน **
ค่าเข้าชม
แบบหมู่คณะ
- จำนวน 10-50 คน ราคา 299 บาท/คน
- จำนวน 50 คนขึ้นไป ราคา 199 บาท/คน
- ค่าอาหาร 100 บาท/คน
- ค่าเรือ 80 บาท/คน
การเดินทาง
จากสงขลา ขับไปทางอำเภอสทิงพระ เจอสี่แยกไฟแดงวัดบ่อแดง ให้เลี้ยวซ้าย ประมาณ 5 กม. จะเจอสี่แยกท่าหินให้เลี้ยวขวา เข้าไป 200 เมตร ศูนย์การเรียนรู้วิถีโหนด-นา-เล อยู่ใกล้กับโรงเรียนวัดท่าหิน
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
จองล่วงหน้าอย่างน้อย 5-7 วัน
สิ่งอำนวยความสะดวก
ลานจอดรถบัส